ช่วยกันเพิ่มช่องทาง ข้อมูล ข่าวสาร-สาระความรู้ ให้กับพี่น้องชาวแรงงานนอกระบบ
"รู้ลึก รู้ทัน รู้จริง รู้ก่อน...ไม่โดนเขาหลอกให้ช้ำใจ"
"รอโหลดซักกะเดี๋ยว..ตะเอง"


. . . สวัสดีครับ . . .
ยินดีต้อนรับทุกๆท่าน . . . Welcome to . . .
. . . แ ร ง ง า น น อ ก ร ะ บ บ . . . ร่วมด้วยช่วยกัน . . . ขอขอบพระคุณเจ้าของclipภาพถ่ายและบทความทุกๆท่านที่กรุณาเอื้อเฟื้อแบ่งปัน . . .น้ำใจซื้อขายไม่ได้ แต่น้ำใจให้กันได้...อิอิ

@ ปู้นนน...!!! คนเมืองใต้เจียงใหม่ของหมู่เฮาลงไปตางปู๊นนน..... @ 2กุมภา..กาเบอร์ 15 ทั้ง ส.ส.เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย


PlayListนี้ เริ่มต้นด้วย "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน" เรียงลำดับตั้งแต่ ตอนแรก ถึง ตอนปัจจุบัน ..ท้ายเพลย์ลิสท์เป็นคลิป "เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญ : จะทำอย่างไร?" วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล (สยามซิตี้เดิม) คลิปนี้..วิทยากร รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นเริ่มนาที 0:14:24
คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...
หรือคลิกที่นี่.. @ AsiaUpdate "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน"

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

6... กองทุนเงินหาย 100 ล้าน


กองทุนเงินหาย 100 ล้าน

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 9.30-16.00 น. ประชุมคณะกรรมการกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน ครั้งที่ 1/2553 ณ ห้องประชุมกรมการจัดหางาน ชั้น 10 กระทรวงแรงงาน และเป็นครั้งแรกที่ได้เข้าประชุมร่วมในฐานะกรรมการ (ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ)

ฟังแล้วเท่เป็นบ้าแต่ค่าเดินทางไม่มีซักบาท แถมเงินกองทุนของผู้รับงานไปทำที่บ้านยังหายไป 100 ล้านบาท เหตุผลเพราะใช้เงินไม่เป็น

ฟังแล้วงง???????? สะใจหรือยังพ?????????? เรื่องแบบนี้มันควรได้รับรู้มาก่อนแล้ว เพราะเรามีตัวแทนเข้าไปอยู่ด้วย อย่างน้อยก็จะได้ช่วยก้น ทำอะไรซักอย่างก็ยังดีกว่าอยู่เฉยๆ เงินที่หายไปคิดไวๆนำไปใส่ ม.40 ยังดีเสียกว่าถูกยึดเข้าคลัง ปัจจุบันกองทุนนี้เหลือแค่ 30 ล้านช่วยคนทั้งประเทศ

พี่น้องคิดอย่างไร? กองทุนนี้เป็นกองทุนผู้รับงาน เพราะฉะนั้นมันควรโยกไปใส่ทุนประเดิม ม.40 ได้ คิดเองแบบไม่ใช่นักคณิตศาสตร์ ว่าน่าจะทำได้ ถ้าเกิด ขบวนการผลักดันของพี่น้องแรงงาน ทีมนโยบายโสงเสียงหน่อย

1. สถานการณ์คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบตามแนวทางที่กระทรวงการคลังเสนอ คือ ให้กรมการจัดหางานปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานและให้นำเงินกองทุนจำนวน 100 ล้านส่งคืนคลังเป็นรายได้ของแผ่นดินภายใน 90 วันหลังจากวันที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติๆเมื่อวันที่ 12 ม.ค.53

2. มีงบประมาณ 2,280,000 บาท สำหรับให้ผู้รับงานกู้ในปี 53 ตั้งเป้าการให้กู้ไว้ 76 กลุ่มทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ปัจจุบันอนุมัติไปแล้ว 10 กลุ่มเป็นเงิน 500,000 บาท

3. แก้ไขระเบียบการรวมกลุ่มจากเดิม 10 คนให้เหลือ 5 คนข้อนี้ใช้ได้แล้วตั้งแต่วันที่ 2 ก.พ. 53

4. ให้ปรับลดดอกเบี้ยลงจากเดิมร้อยละ 5 บาท/ปี เหลือร้อยละ 3 บาท/ปี กำลังอยู่ในขั้นตอนแก้ไขรายละเอียดยังใช้ไม่ได้

5. กรณีผู้ผิดนัดชำระเงินกู้ ให้คิดดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 บาท/ปีนับจากวันบอกเลิกสัญญากู้

6. มีลูกหนี้ค้างชำระจำนวน 6 กลุ่ม อยู่ระหว่างดำเนินคดี 1 ราย มีเงินค้างชำระจำนวน 97,724 บาท ที่เหลือกำลังติดตามและเก็บข้อมูลเพิ่มเติมเป็นรายกลุ่มไป ปัจจุบันมีหนี้ค้างทั้งหมด 208,193.24 บาท 6กลุ่ม

ลองดูกันหน่อยนะจ๊ะพี่น้อง หนี้ 208,193 บาท 6กลุ่ม=หาร 60 คน = เป็นหนี้คนละ 3,469 บาทต่อคน เหตุผลนี้หรือเปล่าวที่ถูกเรียกเงินคืน

หรือมีเหตุผลอื่นๆ ถ้าเหตุผลเรื่องการบริหารจัดการก็ต้องไปดูว่าใครเป็นคนบริหารจัดการ ก็ต้องไปพัฒนาเรื่องบริหารจัดการของคนที่ดูแล

ไม่ใช่มาเรียกกองทุนคืนโดยไม่มีเหตุผล และแรงงานไม่ได้รับรู้ในวงกว้าง ต้องทำประชาพิจารณ์แบบสอบถามความคิดเห็นก่อน

อยากให้ช่วยกันดูเรื่องใกล้ตัวและเป็นประโยชน์กับพี่น้องแรงงานก่อนที่จะสายไป

รายงานความก้าวหน้าให้พี่น้องได้รับทราบเรื่องที่ได้เข้าร่วมประชุมในฐานะตัวแทนแรงงานนอกระบบ

สุจิน

ประธานศูนย์ประสานงานเครือข่ายแรงงานนอกระบบ กทม.

*

1.1 จุดเปลี่ยนของเครือข่ายแรงงานนอกระบบภาคประชาชนครั้งที่ 1

เมื่อปี 2550-2552 เครือข่ายแรงงานนอกระบบภาคประชาชนได้รับโอกาสให้เข้ามาเรียนรู้ (เรื่องการบริหารจัดการ) โดยผ่านเครือข่าย NGO ในรูปแบบเป็นโครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำและเครือข่ายแรงงานนอกระบบรับทุนจากแหล่งทุน สสส. และได้ดำเนินกิกรรมร่วมกับพี่น้องในภูมิภาค 5 ภาคตามแผนที่กิจกรรมที่เสนอไป ต่อมาเมื่อหมดสัญญาลง เราได้สรุปบทเรียนจากการทำกิจกรรมร่วมกับพี่น้องทั้ง 5 ภาค สิ่งที่เราได้

1. ได้แกนนำแรงงานนอกระบบ 5 ภาคที่มีความเข้าใจ เรื่องสิทธิ/การจัดการทางอาชีพที่เหมาะสม/สุขภาพอาชีวะอนามัย(การส่งเสริมและป้องกัน)/สวัสดิการขั้นพื้นฐานระดับกลุ่มอาชีพที่จัดทำกันเองเบื้องต้นเพื่อให้ภาครัฐมาต่อยอด/มีความรู้และเข้าใจในการเข้าไปใช้ทรัพยากรใน อปท. ของตนเองได้

2. เริ่มได้การยอมรับและมีส่วนร่วมจาก อปท.ที่มีความรู้ความเข้าใจและนำทรัพยากรที่มีอยู่แล้วใน อปท.มาร่วมกันในการจัดการพัฒนาท้องถิ่นตนเองในทุกมิติ

3. เริ่มได้รับความร่วมมือจากสาธารณะสุขระดับตำบล/อำเภอ/จังหวัด มาให้ความรู้เรื่องอาชีวะอนามัยในการประกอบอาชีพของกลุ่มเครือข่ายแรงงานนอกระบบในชุมชน

4. ได้เริ่มจัดตั้งกองทุนสวัสดิการกลุ่มอาชีพในชุมชน/ตำบล

5. กลุ่มอาชีพแรงงานนอกระบบได้เริ่มเข้าใจในการจัดการกับอาชีพของตัวเอง คือเริ่มจากตัวเอง เช่น การคิดต้นทุนในการลงทุนไป ค่าแรงตัวเอง/ค่าอุปกรณ์/ค่าพื้นที่ตัวเอง/ค่าเสื่อมของดิน/วิธีป้องกันและอื่นๆ ที่เมื่อก่อนมองข้ามไป บางพื้นที่ก็ได้เปลี่ยนทัศนคติหันมาใช้ปุ๋ยชีวะภาพเพื่อดูแลสุขภาพและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นความภูมิใจของเครือข่ายแรงงานนอกระบบภาคประชาชนที่ได้ช่วยกันทำร่วมกันมาทั้ง 5 ภาคในแต่ละพื้นที่และคาดหวังว่าต้องขยายความรู้ความเข้าใจให้กับพื้นที่อื่นๆต่อไปในอนาคต

เครือข่ายแรงงานนอกระบบภาคประชาชน

*

1.2 จุดเปลี่ยนของเครือข่ายแรงงานนอกระบบภาคประชาชนครั้งที่ 2

เมื่อปี 2553 ได้เริ่มโครงการใหม่แต่ทำในรูปแบบเดิม คือทำเรื่องอาชีวะอนามัยกับกลุ่มอาชีพแรงงานนอกระบบที่มีความเสี่ยงในด้านสุขภาพ ตัวชี้วัดเมื่อทำไปแล้วต้องเห็นการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มอาชีพแรงงานนอกระบบ ในด้านส่งเสริมและป้องกันสุขภาพ เพื่อนำไปจัดทำเป็นนโยบายเรื่องการส่งเสริมและป้องกันสุขภาพของแรงงานนอกระบบทั้งในระดับตำบลและระดับชาติต่อไป

แต่เป็นที่น่าเสียใจมากทางเครือข่ายแรงงานนอกระบบภาคประชาชนไม่ได้รับการไว้วางใจให้ได้ทำต่อทั้งๆที่ควรจะได้ทำต่อยอดในพื้นที่ที่มีพื้นฐานในด้านความรู้ความเข้าใจเรื่องอาชีวะอนามัยอยู่แล้วเพื่อที่จะได้ขยายความรู้ความเข้าใจไปยังพื้นที่ใกล้เคียงและพื้นที่อื่นๆต่อไป

ปัญหาคือเครือข่าย NGO ดึงเอากลับไปทำเสียเองทั้งๆที่ได้ฝึกชาวบ้านให้ได้เรียนรู้เรื่องการบริหารจัดการโครงการ การบริหารจัดเครือข่ายทั้งในระดับกลุ่ม/พื้นที่ตำบล/ระดับชาติ แต่กลับไม่พัฒนาต่อ โยนทิ้งเสียกลางคันจึงเป็นที่น่าเสียดายมากๆๆๆ การทำงานควรเป็นการทำงานแบบเดินคู่ขนานกันไประหว่างเครือข่ายภาคประชาชนและเครือข่าย NGO เครือข่าย NGO ควรเป็นคุณอำนวย/คนกลาง/เป็นที่ปรึกษาเท่านั้นไม่ควรเป็นผู้ปฏิบัติเสียเอง ควรให้เครือข่ายภาคประชาชนเป็นผู้ปฏิบัติเพราะเครือข่ายภาคประชาชนจะต้องเป็นผู้ที่ถูกพัฒนาต่อไป ซึ่งไม่ใช้เครือข่าย NGOเพราะเครือข่าย NGO มีความรู้อยู่แล้ว แต่เครือข่ายภาคประชาชนมีประสบการ ทั้งสองอย่างจึงควรบวกกัน

เรื่องสองมาตรฐานมันเกิดขึ้นจริงๆ เกิดตั้งแต่วงเล็กๆและก็ค่อยๆขยายไปสู่สังคมใหญ่จนถึงระดับชาติ จึงเป็นสิ่งที่น่ากลัวของสังคมไทย เป็นความเห็นของเครือข่ายแรงงานนอกระบบภาคประชาชน ที่ขอแสดงความคิดเห็นในระดับของความเข้าใจและบวกกับประสบการณ์ของการทำงานที่ผ่านมาของเครือข่ายแรงงานนอกระบบภาคประชาชน

เครือข่ายแรงงานนอกระบบภาคประชาชน
*

วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

5... วิธีการทำงานกับ “คนที่เราไม่ชอบหน้า”


วิธีการทำงานกับ “คนที่เราไม่ชอบหน้า”

ก็เข้าใจว่าไม่มีใครเพอร์เฟ็คท์ได้เต็มร้อย แต่ก็มีไม่น้อยที่ต้องฝืนใจทนทำงานกับคนที่เราแสนจะ..เหม็นขี้หน้า แต่ถ้าจะปล่อยให้แต่ละวันเป็นวันแห่งความทรมานใจ ก็เป็นการบั่นทอนกำลังใจเกินไป ลองคิดใหม่ ทำใหม่ ให้ทำงานกันได้ราบรื่นดีกว่าไหม

1. เปิดใจให้กว้าง ลดความรู้สึกไม่ชอบในใจลงไปสักนิด...แค่นิดเดียวก็จะทำให้คุณฟังเขาพูดได้รื่นหูมากขึ้น

2. เน้นที่ตัวงานมากกว่าตัวคน เวลาสั่งงานให้เน้นที่งานมากกว่าระบุตัวคุณ เช่นแทนที่เขาจะบอกว่า “คุณต้องส่งงานนี้ที่ฉัน ภายในวันศุกร์” ก็เปลี่ยนเป็น “รายงานชิ้นนี้ต้องส่งนายวันศุกร์นี้ค่ะ”

3. คุยกันแบบตัวต่อตัวหรือทางโทรศัพท์ สำหรับเรื่องสำคัญ หรือเรื่องที่คิดว่าจะมีปัญหาผิดใจกันได้ง่ายๆ

4. พูดกันให้สั้น กระชับ ตรงประเด็น ไม่อยากเถียงกันมากขึ้นอธิบายทุกอย่างให้ชัดเจน

5. ให้เขารู้ผลเสียที่จะตามมา ถ้าเขาทำไม่ดี เช่น บอกว่าถ้าเขาส่งงานไม่ทันเดทไลน์จะเป็นอย่างไร “ถ้าคุณปิดต้นฉบับไม่ทันศุกร์นี้ หนังสือก็จะออกช้านะ”

6. ถ้ามีประชุม เตรียมพร้อมทุกอย่างในส่วนของตัวเองอย่างดีที่สุด และก็ไม่ต้องตำหนิใครถ้าคนอื่นไม่พร้อม

7. ถ้ามีเรื่องต้องโต้แย้ง (มั่นใจว่า...มีเถียงแน่ๆ) ให้จดประเด็นที่ต้องพูดเป็นข้อๆ แล้วคุยให้อยู่ในประเด็นนั้นให้ได้

8. ไม่นินทาฝ่ายตรงข้ามลับหลัง ประเภทว่าปิดกันให้แซด! น่ะ...ถึงเจ้าตัวชัวร์

9. ใจเย็นๆ ถ้าทำงานกับคนที่ไม่ชอบ...นี่คือคาถาที่สำคัญที่สุด