ช่วยกันเพิ่มช่องทาง ข้อมูล ข่าวสาร-สาระความรู้ ให้กับพี่น้องชาวแรงงานนอกระบบ
"รู้ลึก รู้ทัน รู้จริง รู้ก่อน...ไม่โดนเขาหลอกให้ช้ำใจ"
"รอโหลดซักกะเดี๋ยว..ตะเอง"


. . . สวัสดีครับ . . .
ยินดีต้อนรับทุกๆท่าน . . . Welcome to . . .
. . . แ ร ง ง า น น อ ก ร ะ บ บ . . . ร่วมด้วยช่วยกัน . . . ขอขอบพระคุณเจ้าของclipภาพถ่ายและบทความทุกๆท่านที่กรุณาเอื้อเฟื้อแบ่งปัน . . .น้ำใจซื้อขายไม่ได้ แต่น้ำใจให้กันได้...อิอิ

@ ปู้นนน...!!! คนเมืองใต้เจียงใหม่ของหมู่เฮาลงไปตางปู๊นนน..... @ 2กุมภา..กาเบอร์ 15 ทั้ง ส.ส.เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย


PlayListนี้ เริ่มต้นด้วย "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน" เรียงลำดับตั้งแต่ ตอนแรก ถึง ตอนปัจจุบัน ..ท้ายเพลย์ลิสท์เป็นคลิป "เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญ : จะทำอย่างไร?" วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล (สยามซิตี้เดิม) คลิปนี้..วิทยากร รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นเริ่มนาที 0:14:24
คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...
หรือคลิกที่นี่.. @ AsiaUpdate "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน"

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

1... แรงงานนอกระบบคือใคร?


แรงงานนอกระบบคือใคร?

แรงงานนอกระบบ (Informal Workers) คือ ผู้ใช้แรงงานที่ทำงานโดยไม่มีสัญญาการจ้างงานที่เป็นทางการ หรือไม่มีนายจ้างตามความหมายของกฎหมายแรงงาน ไม่ได้ทำงานอยู่ในสถานประกอบการของนายจ้าง ไม่มีค่าจ้างหรือค่าตอบแทนที่แน่นอน หรือเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรือเป็นผู้ที่ทำงานชั่วคราว แรงงานอกระบบจึงเป็นแรงงานที่ไม่ได้อยู่ในกรอบความคุ้มครองของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายประกันสังคม ทำให้ไม่มีหลักประกันความมั่นคงใดๆในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานที่มั่นคง ค่าตอบแทนแรงงานที่เป็นธรรม สุขภาพความปลอดภัยในการทำงาน และความมั่นคงในการดำรงชีวิตเมื่อเข้าสู่วัยชรา

ลักษณะอาชีพที่เป็นตัวอย่างของแรงงานนอกระบบ เช่น ผู้รับงานไปทำที่บ้าน ผู้รับเหมาช่วงงานอุตสาหกรรมไปทำที่บ้าน (Industrial Outworkers) คนงานที่ทำงานไม่ประจำ ลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างชั่วคราวตามฤดูกาล และลูกจ้างที่ทำงานไม่เต็มเวลา (Part-time workers) ลูกจ้างในโรงงานห้องแถว (Sweatshop) และคนงานที่ทำกิจการของตนเอง (Own Account Workers) อยู่ที่บ้านและโรงงานที่ไม่มีการตรวจสอบจดทะเบียน นอกจากนี้ยังหมายรวมถึงแรงงานอิสระที่ทำงานเพื่อความอยู่รอด เช่น หาบเร่ริมถนน คนขัดรองเท้า คนเก็บขยะ และแรงงานรับใช้ในบ้าน เป็นต้น

เนื่องจากสังคมขาดระบบข้อมูลของแรงงานนอกระบบ ทำให้แรงงานเหล่านี้เข้าข่าย “ไม่มีตัวตน” ส่งผลให้แรงงานเหล่านี้มีเงื่อนไขการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม มีรายได้ไม่แน่นอน ขาดการคุ้มครองทั้งทางด้านแรงงานและหลักประกันทางสังคม ต้องเผชิญความเสี่ยงในทางเศรษฐกิจและสังคมที่รุนแรงและบ่อยครั้งกว่าแรงงานในระบบ ในขณะที่มีความสามารถในการจัดการความเสี่ยงน้อยที่สุด

สำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ILO (International Labour Office) ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ให้ความสนใจและกำหนดภารกิจในการทำงานเรื่องของเศรษฐกิจนอกระบบ (Informal economy) ไว้อย่างจริงจัง ประมาณว่า ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีการจ้างงานภาคนอกระบบมากกว่าในระบบ และประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่มีภาคนอกระบบใหญ่กว่าภาคในระบบมาก โดยมีกำลังแรงงานอยู่ในภาคนอกระบบถึงร้อยละ 80–90 ของกำลังแรงงานทั้งหมด


แรงงานนอกระบบในประเทศไทย

จากรายงาน สถานการณ์ด้านแรงงานของกระทรวงแรงงานไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ระหว่างเมษายน-มิถุนายน ประเทศไทยมีประชากรเฉลี่ย 65.68 ล้านคน มีผู้อยู่ในวัยทำงานคือ อายุ 15 ปีขึ้นไปจำนวน 50.97 ล้านคน และอยู่ในกำลังแรงงาน 36.69 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้มีงานทำ 35.80 ล้านคน เป็นแรงงานในภาคเกษตร 13.33 ล้านคน และนอกภาคเกษตร 22.47 ล้านคน ซึ่งเป็นแรงงานที่อยู่ภายใต้ระบบประกันสังคมจำนวนประมาณ 8.7 ล้านคน และจากผลการสำรวจแรงงานนอกระบบของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2548 รายงานว่ามีแรงงานอยู่ในระบบที่ได้รับความคุ้มครองและหลักประกันทางสังคมประมาณ 13.7 ล้านคน และเป็นแรงงานนอกระบบซึ่งไม่ได้รับการคุ้มครองและหลักประกันทางสังคมจำนวน 21.8 ล้านคน แรงงานนอกระบบสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

1. แรงงานนอกระบบภาคการผลิต เป็นแรงงานนอกระบบกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่ง คือแรงงานที่ทำการผลิตสินค้า หรือทำงานอยู่ที่บ้านของตนเอง ปัจจุบันผู้ทำการผลิตที่บ้านกระจายตัวอยู่ทั่วไปในห้องแถวตรอกซอกซอย ชุมชนแออัดในเมือง และชุมชนชนบทที่รายได้จากเกษตรกรรมไม่สามารถจะยังชีพครอบครัวเกษตรกร แรงงานนอกระบบกลุ่มผู้ทำการผลิตที่บ้านประกอบด้วย

1.1 ผู้รับงานไปทำที่บ้าน (Sub Contracted Workers) เกิดจากการจ้างงานที่นายจ้างในภาคอุตสาหกรรมพยายามลดต้นทุนการผลิต เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจการค้าเสรี ด้วยการอาศัยช่องว่างการคุ้มครองของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานปี 2541 จ้างแรงงานให้ทำการผลิตในบางขั้นตอน หรือทุกขั้นตอน การประกอบชิ้นส่วน ตลอดจนการบรรจุหีบห่อ อยู่ภายนอกสถานประกอบการด้วยค่าจ้างแรงงานราคาถูก งานที่ผู้รับงานไปทำที่บ้านกำลังทำอยู่นั้นมีมากมายหลายประเภท ทั้งการเย็บเสื้อผ้า ผลิตเครื่องหนัง ทำรองเท้า ดอกไม้พลาสติก เจียระไนพลอย และอื่นๆ

1.2 ผู้ผลิตเพื่อขาย (Self Employed) คือ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่ผลิตสินค้าขึ้นจากภูมิปัญญาทักษะความสามารถของตนเอง นำไปจำหน่าย ที่เรารู้จักกันดีในฐานะผู้ผลิตสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) หรือวิสาหกิจชุมชน บางครั้งผู้ผลิตเพื่อขายก็อาจจะรับคำสั่งซื้อ (Order) มาจากผู้ประกอบธุรกิจการขาย หรือธุรกิจการผลิตที่มีขนาดใหญ่กว่า ผู้ผลิตเพื่อขายมีทั้งที่เป็นปัจเจกบุคคล และที่เป็นกลุ่ม ซึ่งในหลายกรณีพบว่าในบุคคลคนเดียวกัน กลุ่มอาชีพกลุ่มเดียวกัน มีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพไปมาระหว่างผู้รับงานไปทำที่บ้านกับผู้ผลิตเพื่อขาย คือเมื่อไม่มีงานส่งมาจากโรงงาน หรือผู้ว่าจ้างก็จะผลิตไว้เพื่อขาย

2. แรงงานนอกระบบภาคบริการ เช่นลูกจ้าง และพนักงานบริการตามร้านอาหาร หาบเร่และแผงลอย คนเก็บขยะ คนรับซื้อของเก่า หมอนวดแผนโบราณ คนขับรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างและรถแท็กซี่สาธารณะ คนทำงานบ้าน เป็นต้น

3.แรงงานนอกระบบภาคเกษตร หมายถึงลูกจ้างภาคเกษตร และเกษตรกรพันธะสัญญา เป็นต้น


ปัญหาของแรงงานนอกระบบ

1. ไม่เป็นที่รับรู้ของสังคม (Invisible) เนื่องจากสังคมไทยขาดระบบข้อมูลของแรงงานนอกระบบ ทำให้แรงงานเหล่านี้เข้าข่าย “ไม่มีตัวตน” ส่งผลให้แรงงานเหล่านี้มีเงื่อนไขการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม มีรายได้ไม่แน่นอน ขาดการคุ้มครองทั้งทางด้านแรงงานและหลักประกันทางสังคม ต้องเผชิญความเสี่ยงในทางเศรษฐกิจและสังคมที่รุนแรงและบ่อยครั้งกว่าแรงงานในระบบ ในขณะที่มีความสามารถในการจัดการความเสี่ยงน้อยที่สุด

2. ไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เนื่องจากกฎหมายสำคัญๆ ด้านแรงงานคือ คือ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ. 2537 พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 พ.ร.บ.ความปลอดภัยในสถานประกอบการ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ และกฎหมายฉบับอื่นๆ ที่มีอยู่ล้วนแต่ครอบคลุมเฉพาะแรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบจึงไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายเหล่านี้ แม้ในปี 2547 กระทรวงแรงงานจะได้ออกกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานรับไปทำที่บ้าน แต่ก็ยังไม่ได้ให้ความคุ้มครองในหลักการที่สำคัญอีกหลายประการ โดยเฉพาะค่าตอบแทนที่เป็นธรรม สาระสำคัญที่กฎกระทรวงให้การคุ้มครองก็คือเรื่องสุขภาพความปลอดภัย แต่ก็ยังคงมีปัญหาในเรื่องกลไก มาตรการการปฏิบัติ และการบังคับใช้กฎหมายอยู่มาก

3. ค่าตอบแทนไม่เป็นธรรมและรายได้ไม่แน่นอน แรงงานนอกระบบส่วนใหญ่ไม่ได้รับค่าแรงขั้นต่ำ และมีรายได้ไม่แน่นอน แม้จะทำงานในลักษณะและมีคุณค่าเดียวกันกับที่ผลิตอยู่ในโรงงานก็ตาม เนื่องเพราะแรงงานเหล่านี้ไม่ได้รับการคุ้มครองจาก พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และขาดการรวมกลุ่มเพื่อต่อรองค่าแรงของตน

4. งานไม่ต่อเนื่อง ไม่สม่ำเสมอ ขึ้นอยู่กับสภาวะการขาย การตลาดของสินค้า หรือสถานการณ์ของสังคม ทำให้ไม่มีความมั่นคงในการทำงาน ไม่สามารถวางแผนการผลิตและแผนการทำงานได้

5. เข้าไม่ถึงประกันสังคม เนื่องจาก พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับปัจจุบันยกเว้นการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ ทำให้ผู้ทำการผลิตขาดหลักประกันที่จำเป็นในการดำรงชีวิตที่ผู้ใช้แรงงานในระบบได้รับ ไม่ว่าจะเป็น กรณี การเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน

6. เข้าไม่ถึงทรัพยากรและการสนับสนุนจากรัฐ จึงเป็นเหตุให้ขาดโอกาสในการพัฒนาทักษะฝีมือ การใช้กองทุนหมุนเวียน รวมทั้งการได้รับบริการด้านสาธารณสุขที่เหมาะสม

7. ไม่มีองค์กร ไม่มีตัวแทน ไม่มีอำนาจต่อรอง ลักษณะการทำงานของแรงงานนอกระบบ มักจะกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปจึงขาดการรวมกลุ่ม หรือแม้จะมีการรวมกลุ่มก็เป็นกลุ่มขนาดเล็ก ประกอบกับการไม่เข้าใจในเรื่องสิทธิของตนเองในฐานะแรงงาน จึงไม่มีอำนาจในการต่อรองทั้งกับนายจ้าง หรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง

8. มีปัญหาสุขภาพและสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งมีความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่ปลอดภัย จึงทำให้ แรงงานนอกระบบส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับปัญหาด้านสุขภาพ และความเสี่ยงจากอุบัติเหตุในการทำงาน
*