ช่วยกันเพิ่มช่องทาง ข้อมูล ข่าวสาร-สาระความรู้ ให้กับพี่น้องชาวแรงงานนอกระบบ
"รู้ลึก รู้ทัน รู้จริง รู้ก่อน...ไม่โดนเขาหลอกให้ช้ำใจ"
"รอโหลดซักกะเดี๋ยว..ตะเอง"


. . . สวัสดีครับ . . .
ยินดีต้อนรับทุกๆท่าน . . . Welcome to . . .
. . . แ ร ง ง า น น อ ก ร ะ บ บ . . . ร่วมด้วยช่วยกัน . . . ขอขอบพระคุณเจ้าของclipภาพถ่ายและบทความทุกๆท่านที่กรุณาเอื้อเฟื้อแบ่งปัน . . .น้ำใจซื้อขายไม่ได้ แต่น้ำใจให้กันได้...อิอิ

@ ปู้นนน...!!! คนเมืองใต้เจียงใหม่ของหมู่เฮาลงไปตางปู๊นนน..... @ 2กุมภา..กาเบอร์ 15 ทั้ง ส.ส.เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย


PlayListนี้ เริ่มต้นด้วย "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน" เรียงลำดับตั้งแต่ ตอนแรก ถึง ตอนปัจจุบัน ..ท้ายเพลย์ลิสท์เป็นคลิป "เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญ : จะทำอย่างไร?" วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล (สยามซิตี้เดิม) คลิปนี้..วิทยากร รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นเริ่มนาที 0:14:24
คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...
หรือคลิกที่นี่.. @ AsiaUpdate "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน"

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

11... ฟันธง! ประกันแรงงานนอกระบบ ไม่โดนใจ ของขวัญที่คนจนไม่อยากได้...รัฐคิดแบบบริษัทประกัน



ฟันธง! ประกันแรงงานนอกระบบ ไม่โดนใจ ของขวัญที่คนจนไม่อยากได้...รัฐคิดแบบบริษัทประกัน

มติชนออนไลน์


19 มกราคม 2554 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย จัดงานราชดำเนินเสวนา ภายใต้โครงการร่วมปฏิรูปประเทศไทย ครั้งที่ 1 /2554 เรื่อง “ประกันแรงงานนอกระบบ ช่วยเหลือหรือเพิ่มภาระคนจน” ณ ห้องประชุมอิศรา อมันตกุล ชั้น 3 สมาคมนักข่าวฯ

โดยมี รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ กรรมการปฏิรูป และกรรมการสมัชชาปฏิรูป ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการเกษตร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) นางมณี สุขสมัย ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการประกันสังคม (สปส.) ตามมาตรา 40 และนางสุจิน รุ่งสว่าง เครือข่ายแรงงานนอกระบบ ร่วมเสวนา

นางมณี กล่าวถึงความคืบหน้าการประกันตนของแรงงานนอกระบบว่า คณะรัฐมนตรีได้ลงมติเห็นชอบในส่วนของร่างกฤษฏีกาเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งจะส่งให้คณะกฤษฏีกาพิจารณาต่อไป โดยประกันสังคมเตรียมประสานงานกับอำเภอ ตำบล เครือข่ายแรงงานนอกระบบ ธนาคาร ไปรษณีย์ และศูนย์บริการต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน

ด้านรายละเอียดของ การประกันตนแรงงานนอกระบบนั้น นางมณี กล่าวว่า ในกรณีเจ็บป่วย สิทธิประโยชน์จะเกิดเมื่อนำส่งเงิน 3 ใน 4 เดือน และจะได้รับเงินทดแทนเมื่อขาดรายได้วันละ 200 บาท ต่อเมื่อพักรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลา 2 วัน โดยใน 1 ปีใช้สิทธิ์ได้ไม่เกิน 20 วัน

ส่วนกรณีทุพพลภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการประกันสังคมฯ กล่าวว่า สามารถรับเงินชดเชยเป็นเวลา 15 ปี โดยแยกประเภทตามวันเวลาที่ผู้ประกันตนนำส่งเงินสมทบ คือ หากนำส่ง 6 ใน 10 เดือนจะได้รับชดเชยเดือนละ 500 บาท, 12 ใน 20 เดือนจะได้รับชดเชยเดือนละ 650 บาท, 24 เดือนใน 40 จะได้รับชดเชยเดือนละ 800 บาท และ 36 ใน 60 เดือน จะได้รับชดเชยเดือนละ 1,000 บาท สำหรับกรณีเสียชีวิตนั้นจะได้รับเงินชดเชย 2 หมื่นบาท หากผู้ประกันตนนำส่งเงิน 6 ใน 12 เดือนตามกำหนด

ในขณะที่ บำเหน็จชราภาพ นางมณี กล่าวว่า จะได้รับเมื่ออายุ 60 ปี สำนักงานประกันสังคมจะคิดจากเงิน 50 บาทที่ภาครัฐสมทบให้ ตั้งแต่เดือนแรกจนถึงเดือนสุดท้าย พร้อมดอกเบี้ยที่คิดอัตราตามรายปี ซึ่งเงินที่รัฐบาลจ่ายให้ในช่วงแรกนี้เป็นเพียงแค่ เงินอุดหนุนพิเศษ ซึ่งทางประกันสังคมเตรียมผลักดันให้แก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งจะกำหนดให้รัฐจ่ายเงินสมทบร่วมด้วยไม่เกินกึ่งหนึ่งของเงินที่ผู้ประกัน ตนต้องเสีย

ของขวัญ..ไม่โดนใจแรงงานนอกระบบ

ด้านนางสุจิน กล่าวว่า แบบประกันตนแรงงานนอกระบบ ในนโยบายประชาวิวัฒน์ทั้ง 2 ลักษณะที่รัฐบาลเสนอมานั้นยังไม่ตรงความต้องการของแรงงานนอกระบบมากนัก โดยเฉพาะสิทธิประโยชน์เมื่อชราภาพ ซึ่งแรงงานส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 30-40 ปีขึ้นไป ทำให้การออมเงินเข้ากองทุนมีระยะเวลาน้อย ภาครัฐอาจช่วยขยายเวลาในการออมได้ ในขณะที่ กองทุนเงินออมแห่งชาติ(กอช.) ผู้ประกันตนขอรับสิทธิ์ได้ หากเลือกไม่รับบำเหน็จในประกันสังคม ซึ่งต้องเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายจากเดิมที่เสีย 70 บาท ก็ต้องนำเข้า กอช. อีก 100 บาท

นางสุจิน กล่าวถึงความต้องการของกลุ่มแรงงานนอกระบบ ว่า รัฐบาลต้องมีกลไกลเชื่อมร้อยกันระหว่างกองทุนเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับ ประชาชนในการที่จะนำส่งเงินสมทบกองทุน หรือให้สำนักงานประกันสังคมเปิดรับสมาชิกรายกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มของแรงงานนอกระบบบริหารจัดการกันเอง ซึ่งจะมีประสิทธิภาพได้ดีกว่ารายบุคคล

ฟันธง แรงงานนอกระบบเข้าน้อยเช่นเดิม

ส่วน ดร.วิโรจน์ กล่าวว่า ประกันสังคมภายใต้ประชาวิวัฒน์ ไม่ต่างจากประกันสังคมตามมาตรา 40 ซึ่งสามารถฟันธงได้เลยว่า จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการจะน้อยเช่นเดิม เพราะแนวคิดในการมองปัญหาของรัฐบาล ยังติดอยู่กับกรอบวิธีคิด 2 เรื่องคือ 1. กลัวว่าจะเป็นภาระทางการคลังให้กับรัฐบาลในระยะยาว ทั้งที่ปัจจุบัน รัฐบาลจ่ายสมทบให้แก่แรงงานในระบบ 2.75% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าจ่ายให้แรงงานนอกระบบหลายเท่าตัว และ 2. พ.ร.บ. ที่รัฐบาลกำลังจะแก้ไขได้มีการล็อกเอาไว้ว่า รัฐบาลจะจ่ายสมทบไม่เกินกึ่งหนึ่งของที่ผู้ประกันตนจ่าย เมื่อรัฐบาลเอาไอเดียนี้มาใช้กับ ม.39 และม.40 ทำให้ลูกจ้างที่ไม่มีนายจ้างรับภาระเองทั้งหมด ถ้ามองในแง่ความทั่วถึงและความเป็นธรรม แนวคิดของรัฐบาลจะต้องกลับกัน คนที่จนกว่ารัฐบาลจะต้องอุดหนุนมากกว่า

“สิ่งที่รัฐบาลเสนอขณะนี้ จิ๊บจ๊อยมาก รัฐบาลควรอุดหนุนไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของแพ็คเกจพื้นฐานด้วยซ้ำ เช่น แพ็คเกจพื้นฐานมี 100 รัฐบาลควรจ่ายครึ่งหนึ่ง เพราะจะมีผลต่อจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ อีกทั้งจากการศึกษากลุ่มตัวอย่างกว่า 3,000 คน ในจังหวัดกรุงเทพฯ ชลบุรีและระยอง ซึ่งเป็นแรงงานนอกระบบ โดยรวมพบว่า 100 บาทแรงงานสามารถจ่ายได้ แต่ถ้าเป้าหมายของรัฐบาลคือการสร้างหลักประกันสังคมที่ครอบคลุมจะต้องเก็บ น้อยกว่านี้ เช่น เรียกเก็บ 50 บาท รัฐบาลจ่ายสมทบอีก 50 บาท และมีแพ็กเก็จให้เลือกมากกว่า”

ดร.วิโรจน์ กล่าวถึงเรื่องสิทธิประโยชน์ในเรื่องบำเหน็จว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่มองว่า คนส่วนใหญ่ต้องการเงินก้อน แต่ผลการศึกษา พบว่า ประมาณ 4:1 ที่อยากได้บำนาญมากกว่าบำเหน็จ เนื่องจากเงินก้อนอาจอยู่ได้ไม่นาน แต่สิ่งที่รัฐบาลเสนอ คือพยายามคิดแบบบริษัทประกัน ทำให้ทุกอย่างให้จบ จะได้ไม่มีภาระในระยะยาว

“หากบริษัท ประกันคิดเช่นนี้คงไม่ใช่เรื่องแปลก แต่รัฐบาลนั้น แม้ว่าผู้สูงอายุจะรับเงินไปแล้ว รัฐบาลก็ปฏิเสธที่จะไม่ไปดูแลไม่ได้ ฉะนั้นรัฐบาลต้องเสนอแพ็คเกจที่จะสามารถแก้ปัญหาคนจำนวนมาก ซึ่งไม่สามารถ พึ่งพาครอบครัวตนเองได้ โดยเลิกคิดว่าจะใช้เงินกับคนกลุ่มนี้ให้น้อยที่สุด แต่ได้คะแนนเสียงมากที่สุด”

ก่อนเอาใจแรงงานนอกระบบต้องกำหนดทิศให้ชัด

ขณะ ที่รศ.ดร.ณรงค์ กล่าวการทำนโยบายเรื่องแรงงานนอกระบบ จะต้องเริ่มต้นด้วยการกำหนดทิศทางให้ชัดเจนก่อน ถึงจะสามารถลงรายละเอียดว่าจะทำอย่างไร เพราะหากเรากำหนดทิศทางผิดพลาด ก็จะเดินไปบนเส้นทางที่ผิดพลาด และไปไม่ถึงเป้าหมาย ซึ่งการสร้างทิศทาง แนวคิด และวิสัยทัศน์จะต้องมาก่อน

“หากมองเชิงระบบ รัฐบาลจะต้องคำนึงนิยามของแรงงานนอกระบบก่อน ซึ่งก็หมายถึง กลุ่มคนอายุตั้งแต่ 15-60 ปีที่ทำงานได้และมีเวลาที่จะทำงาน มี 3 กลุ่ม คือเกษตรกร รับงานไปทำที่บ้าน และแท็กซี่ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง หาบเร่แผงลอย รวมแล้วมีอยู่ประมาณ 38 ล้านคน”

ดร.ณรงค์ กล่าวอีกว่า ส่วนแรงงานนอกระบบ ในภาคเกษตร 15 ล้านคน แบ่งเป็นแรงงานเกษตรรับจ้าง 3 ล้านคน เกษตรกร 12 ล้าน คน และเกษตรกรก็แยกย่อยไปเป็นเกษตรกรอิสระ และเกษตรกรพันธะสัญญา ซึ่งเมื่อมองภาพนี้จะเห็นว่าลูกจ้างของเกษตรกรจะยากจนกว่าเกษตรกรมาก เพราะปัจจุบันเจ้าของนาไม่ได้ทำนาเองแล้ว

ดร.ณรงค์ กล่าวต่อว่า หากต้องการจะดึงแรงงานนอกระบบประกันสังคม ต้องพิจารณาก่อนว่าคนกลุ่มไหนที่ควรจะได้รับการประกันสังคมก่อน ซึ่งเห็นว่า ควรเป็น ‘ลูกจ้างเกษตร’แต่กลับไม่มีใครแตะต้องเลย รวมทั้งเกษตรกรเองก็มีกองทุนที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรไม่ต่ำกว่า 7 กองทุน ทั้งกองทุนหมูบ้าน SML และกองทุนพัฒนาที่ดิน ฯลฯ

“เราควรรู้จัก บริหารกองทุนเหล่านี้ให้เชื่อมโยงกับการประกันสังคม จะได้มีเงินสมทบภาคเกษตรกรเพิ่มขึ้น และกลับมาเป็นเงินประกันสังคมเกษตรกร เพราะหากมีการจัดการระบบเงินที่ดี จะทำให้ศักยภาพในการสมทบเพิ่มขึ้น แต่กลับไม่มีการคำนึงถึงประเด็นนี้ ด้วยเพราะต่างกระทรวงก็ต่างทำงาน ทำให้กองทุนเหล่านี้กระจัดกระจายอยู่ตามกระทรวงต่างๆ นับเป็นภาพรวมใหญ่ที่รัฐบาลไม่เคยมอง”

ส่วนด้านการประกันราคา และประกันรายได้ภาคเกษตร กรรมการสมัชชาปฏิรูป กล่าวว่า ไม่มีประโยชน์ เพราะโครงสร้างในการทำการเกษตรเปลี่ยนไป กลายเป็นเกษตรกรภายใต้ระบบตลาด จึงต้องย้อนกลับมาพิจารณาการประกันนอกระบบ ที่ไม่ใช่ปัญหานโยบายอย่างเดียว แต่เป็นปัญหาการจัดการด้วย ดังนั้นในการแก้ปัญหาประกันสังคมต้องไปแก้กฎหมายแรงงานให้สอดคล้อง เพื่อให้ประกันสังคมไปถึงเป้าหมาย

ดร.ณรงค์ กล่าวถึงความยุติธรรม ความเหลื่อมล้ำ และความสะดวกง่ายของผู้ใช้แรงงาน ระหว่างบัตรทอง กับประกันสังคม ว่า คนที่เข้าระบบประกันสังคมจะต้องจ่ายเบี้ยประกันความเจ็บป่วยให้ตัวเอง ขณะที่คนถือบัตรทองจะไม่ต้องจ่าย อีกทั้งการใช้บัตรทองก็สะดวกกว่ามาก เช่น ไม่จำกัดโรงพยาบาล อาการและโรค จึงเกิดการตั้งคำถามว่า เช่นนั้นแล้วจะมีระบบประกันสังคมไปทำไม ซึ่งเชื่อว่า กรณีกลุ่มแรงงาน กำลังเรียกร้องให้สำนักงานประกันสังคมเป็นอิสระ เพื่อให้สะดวกขึ้น และมีสิทธิ์มีเสียง มีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการบริหาร แม้จะอยู่ในระบบประกันนอกหรือในระบบก็ตาม

สำหรับทางออกของ ปัญหา ดร.ณรงค์ กล่าวว่า หากต้องการสร้างระบบสวัสดิการ ควรมีการเก็บภาษีปิโตรเลียม แร่ทองหรือแร่อื่นๆ เพิ่มขึ้น หากเก็บค่าภาคหลวงเพิ่มขึ้น 30% จากเดิม 8% จะได้จำนวนเงินกว่า 2 แสนล้านต่อปี ซึ่งสามารถนำเงินส่วนนี้มาประกันรายได้เกษตรกรได้อย่างสบาย เพราะหากรัฐจะทำการช่วยเหลือส่วนนี้จริงก็ไม่ควรคำนึงว่าจะมีเงินไม่พอจ่าย แต่ต้องกล้าหาญที่จะหารายได้ด้วย

“สิ่งที่รัฐควรทำกลับไม่ได้ทำ รัฐต้องพิจารณาว่าปัญหาหลักมาจากไหน แล้วแก้ที่ต้นเหตุไม่ใช่แก้ที่อาการ เช่นในปัญหาวินมอเตอร์ไซค์ หากแก้ปัญหาส่วยได้ ก็ไม่ต้องทำอะไรแล้ว เขาสามารถที่จะขับรถและผ่อนส่งโดยปกติได้ เหมือนกับเวลาที่ปวดหัว ต้องพิจารณาว่า เกิดจากเนื้องอกในสมอง ไมเกรน หรือสายตาเอียง ไม่ใช่แก้โดยกินแต่ยาแก้ปวด ที่หายได้เพียงชั่วคราว แต่ที่สุดแล้วหลักการของรัฐก็เลือกที่ทำได้ง่าย และได้เสียง