ช่วยกันเพิ่มช่องทาง ข้อมูล ข่าวสาร-สาระความรู้ ให้กับพี่น้องชาวแรงงานนอกระบบ
"รู้ลึก รู้ทัน รู้จริง รู้ก่อน...ไม่โดนเขาหลอกให้ช้ำใจ"
"รอโหลดซักกะเดี๋ยว..ตะเอง"


. . . สวัสดีครับ . . .
ยินดีต้อนรับทุกๆท่าน . . . Welcome to . . .
. . . แ ร ง ง า น น อ ก ร ะ บ บ . . . ร่วมด้วยช่วยกัน . . . ขอขอบพระคุณเจ้าของclipภาพถ่ายและบทความทุกๆท่านที่กรุณาเอื้อเฟื้อแบ่งปัน . . .น้ำใจซื้อขายไม่ได้ แต่น้ำใจให้กันได้...อิอิ

@ ปู้นนน...!!! คนเมืองใต้เจียงใหม่ของหมู่เฮาลงไปตางปู๊นนน..... @ 2กุมภา..กาเบอร์ 15 ทั้ง ส.ส.เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย


PlayListนี้ เริ่มต้นด้วย "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน" เรียงลำดับตั้งแต่ ตอนแรก ถึง ตอนปัจจุบัน ..ท้ายเพลย์ลิสท์เป็นคลิป "เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญ : จะทำอย่างไร?" วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล (สยามซิตี้เดิม) คลิปนี้..วิทยากร รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นเริ่มนาที 0:14:24
คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...
หรือคลิกที่นี่.. @ AsiaUpdate "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน"

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

10... 'ประกันสังคมใต้ร่มประชาวิวัฒน์' โดนใจแรงงานนอกระบบ..?


'ประกันสังคมใต้ร่มประชาวิวัฒน์' โดนใจแรงงานนอกระบบ..?

เขียนโดย ณัฏฐพัชร์ ทัศนรุ่งเรือง


โครงสร้างทางเศรษฐกิจทั้งของไทยและของโลก เปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมาก ลักษณะการทำงานก็นับว่า เปลี่ยนแปลงไปเช่นเดียวกัน ใช่มีแต่ “แรงงานในระบบ” ตามนิยามเดิมเท่านั้น

มี “แรงงานในระบบ” และ “แรงงานนอกระบบ” มี “ผู้ประกอบการอิสระ” กับ “แรงงานอิสระ” ที่นับวัน เส้นแบ่งยิ่งขีดได้ยากมากยิ่งขึ้น

นี่ยังไม่นับรวม แรงงานข้ามชาติ

แม้แต่ผู้ที่คลุกคลี ได้เห็นการต่อสู้ของผู้ใช้แรงงาน มาตลอดชีวิต อย่าง รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ กรรมการปฏิรูป และกรรมการสมัชชาปฏิรูป มองถึงเส้นแบ่งดังกล่าว ที่นอกจากจะขีดยากยิ่งแล้ว คนในสังคมไทยยังไม่เข้าใจ หรือ แม้แต่คนจบมหาวิทยาลัยแล้ว ก็ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า “แรงงาน กำลังแรงงาน คนงาน” คือ อะไร

“เอาแค่แรงงานในระบบและนอกระบบ ยังจำแนกกันไม่ได้ แถมคนส่วนใหญ่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่า แรงงานนอกระบบกลุ่มใหญ่ที่สุดนั้น คือ เกษตรกร”

ยิ่งในเมื่อประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมการค้าและอุตสาหกรรมเต็มตัว ในระดับสากลยกให้ไทย เป็นประเทศอุตสาหกรรมระดับกลาง ณ วันนี้ คนส่วนใหญ่ คือ ลูกจ้าง คือ ผู้ใช้แรงงานนอกภาคเกษตร ไม่ใช่ภาคเกษตร อีกต่อไป

เมื่อมาดูการจัดระบบสวัสดิการ และสร้างสถาบันเพื่อคุ้มครองทางสังคมให้แก่กลุ่มผู้ใช้แรงงานไทย ที่ถูกกำหนดโดยบริบทของระบบเศรษฐกิจ กลับไม่สอดคล้อง และเท่าทันต่อสถานการณ์แรงงานเสียแล้ว เห็นได้จาก ประเทศไทยมีกำลังแรงงานกว่า 36 ล้านคน แต่อยู่ในระบบประกันสังคมเพียง 9 ล้านกว่าคนเท่านั้น

แม้ระบบประกันสังคม ที่ดำเนินการมากว่า 20 ปี ได้สร้างคุณูปการหลายประการ ทั้งการขยายสิทธิประโยชน์ให้มากขึ้นในกลุ่มแรงงานในระบบ จาก 4 กรณี เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต ต่อมาขยายสิทธิเป็น 7 กรณี เพิ่มสงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน

รวมถึงขยายสิทธิต่อเนื่อง รักษาพยาบาลผู้ประกันตนที่ป่วยเป็นโรคจิตโดยไม่มีเงื่อนไข แต่ก็ยังมีประเด็นที่เป็นช่องว่างทำให้ผู้ประกันตนต้องประสบปัญหาอยู่หลายประการ


หรือแม้กระทั่ง ล่าสุด ปฏิบัติการเร่งด่วน ในแผนประชาวิวัฒน์ ของรัฐบาลอภิสิทธิ์ ที่ประกาศออกมาแล้วว่า จะปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้ประชาชนที่อยู่นอกระบบประกันสังคม เข้าสู่ประกันสังคมไทยได้ ทำควบคู่กับกองทุนเงินออมแห่งชาติ (กอช.) สร้างวินัยในการออม ช่วยเหลือเกื้อกูล ในรูปแบบ...เฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข

อาจถือได้ว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่กำลังจะทำให้ประชาชนจำนวนมาก สามารถเข้ามาสู่ระบบประกันสังคมได้ ซึ่งในงานสมัชชาแรงงาน 2554 ที่เพิ่งจัดผ่านพ้นไป นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ส่งสัญญาณอีกครั้งว่า จากนี้ไประบบของการดูแลความเป็นอยู่ ความมั่นคง และสวัสดิการ กลุ่มแรงงานนอกระบบ ต้องได้รับการดูแล และเข้าสู่ระบบ ได้รับความคุ้มครองในระบบสวัสดิการ

เหนือสิ่งอื่นใด ที่นายกรัฐมนตรี ร้องขอ คือ ให้มีการปรับแนวความคิด การมองเรื่องค่าจ้าง หรือสวัสดิการแรงงาน ไม่ใช่เป็นเรื่องของ “ต้นทุน” แต่ให้ปรับมุมมองเป็น “การลงทุน” ด้านคุณภาพแรงงาน เพื่อให้แรงงานมีหลักประกันความมั่นคง มีแรงจูงใจในการเป็นกำลังการผลิตที่มีประสิทธิภาพของเศรษฐกิจไทย

แรงงานนอกระบบกับความยั่งยืนของกองทุน

“ประชาวิวัฒน์” ด้านแรงงานนอกระบบ ปรากฏชื่อนักวิชาการที่ทำเรื่องแรงงานอีกท่านที่ได้เข้าไปรับ 5 โจทย์ใหญ่มา คือ

1.จะลดรายจ่ายให้แรงงานนอกระบบอย่างไร

2.เพิ่มรายได้อย่างไร

3.จะปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้นได้อย่างไร

4.ทำให้แรงงานนอกระบบ เข้าสู่ระบบประกันสังคมได้อย่างไร

และ 5.ทำให้แรงงานนอกระบบเข้าถึงสินเชื่อธนาคารของรัฐ

ระยะเวลาการทำงาน กับโจทย์ 5 ข้อ 5 สัปดาห์ ก่อนเริ่มปฏิบัติการจริง 18 มกราคมนี้ รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ ผู้อำนวยการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธรรมาภิบาล มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม ในฐานะประธานทำงานเรื่องแรงงานนอกระบบ ในแผนปฏิบัติการประชาวิวัฒน์ เริ่มต้นยกเครดิต เรื่องแรงงานนอกระบบ ให้กับรัฐบาลหลายรัฐบาล ที่พยายามทำแต่ไม่สำเร็จ จนมาสำเร็จในรัฐบาลชุดนี้

ก่อนนโยบายประชาวิวัฒน์ จะเปิดโอกาสให้มีระบบการออมและสวัสดิการทางเลือก และเคาะออกมานั้น รศ.ดร.สังศิต เล่าว่า ได้เชิญผู้ประกอบอาชีพที่เป็นแรงงานนอกระบบ ไม่ว่าจะเป็นพ่อค้าแม่ขาย ผู้ทำงานอิสระ คนทำงานกลางคืน ไปจนถึงคนขับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง คนขับแท็กซี่ เป็นต้น มาพูดคุย

เท่าไหร่ที่จ่ายได้ แล้วอะไร คือ ความจำเป็นจริงๆ

จากนั้นให้สำนักงานประกันสังคมคำนวณแบบนี้สู้กันไหวหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องไม่ไปกระทบต่อระบบ ซึ่งมีการคาดการณ์ไว้ว่า แรงงานนอกระบบที่จะเข้ามาปีแรกกว่า 2 ล้านคน กอรปกับระบบต้องอยู่ได้ และเมื่อมีแรงงานนอกระบบเข้ามามากขึ้น สิทธิประโยชน์ในอนาคต ก็จะมากขึ้นตามไปได้ด้วย

ประธานทำงานเรื่องแรงงานนอกระบบฯ บอกถึงความเป็นไปได้เมื่อเปิดสภาฯ ก็จะมีการแก้ไขพระราชบัญญัติ “เฉพาะหน้า” เพื่อตอบสนองความต้องการให้ได้อย่างรวดเร็ว จะมีการแก้ไขเป็นพระราชกฤษฎีกาก่อน จากนั้นจะแก้ไขเป็นกฎหมาย ทั้งนี้ทั้งนั้น กฎหมายที่รัฐบาลจะทำนั้นมี 2 ฉบับ คือ แก้ไขพ.ร.บ.ประกันสังคมฯ อีกฉบับประมาณเดือนกุมภาพันธ์ คือกฎหมายเงินออมแห่งชาติ ที่ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของรัฐสภา เสร็จขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมาธิการแล้ว

“ในระบบประกันสังคม หากแรงงานนอกระบบสมทบ 100 บาทต่อเดือน รัฐบาลออกให้ 50 บาท เมื่ออายุ 60 ปีจะได้รับเงินบำเหน็จก้อนหนึ่ง ซึ่งเป็นจาก 50 บาทที่รัฐสมทบให้ ขณะที่ในกองทุนเงินออมแห่งชาตินั้น หากสมทบ 100 บาทต่อเดือน รัฐบาลสมทบให้อีก 100 บาท เมื่ออายุ 60 ปีก็จะได้เงินเป็นรายเดือน” รศ.ดร.สังศิต ขยายความเพิ่มเติมอีกว่า หากแรงงานนอกระบบ ออมเดือนละ 200 บาท แยกไว้ในประกันสังคม 100 บาท และในกองทุนเงินออมฯ อีก 100 บาท เมื่ออายุ 60 ปี ก็จะได้ทั้งเงินบำเหน็จและบำนาญ


เกิดคำถาม แรงงานนอกระบบมาใช้เงินกองทุน

ในมุมมอง คณะกรรมการประกันสังคมฝ่ายนายจ้าง “ประสิทธิ์ จงอัศญากุล” สะท้อนให้เห็นถึงระบบประกันสังคมของไทยที่หากเอาไปเทียบกับต่างประเทศ จะไม่เรียกว่า ประกันสังคม เพราะในความหมายประกันสังคม รัฐต้องดูแลคนทั้งชาติ

“ผมเห็นด้วย รัฐต้องดูแลคนในชาติ รัฐต้องดูแลแรงงานข้ามชาติที่มาจากประเทศอื่น ให้เหมือนกับคนในชาติ เพราะมาสร้างประโยชน์ให้กับประเทศเรา” แต่มีสิ่งที่ ตัวแทนคณะกรรมการประกันสังคมฝ่ายนายจ้าง แสดงความเป็นห่วง คือ แรงงานในระบบที่สะสมเงินมาตั้งแต่ต้น จะเกิดคำถาม การนำเงินไปแจกจ่ายตามนโยบาย

เขาอธิบายเพิ่มเติมว่า ตั้งแต่ออกฎหมายประกันสังคม ปี 2533 น่าจะเรียกว่า “กองทุนของผู้ทำงานที่มีนายจ้างประจำ” มีสำนักงานดูแลกองทุน จำนวนเงิน 7-8 แสนล้านบาทในกองทุนประกันสังคม ซึ่งเงินเหล่านี้เป็นของผู้ใช้แรงงานที่มีนายจ้างประจำได้มีการสมทบกันมาถึงวันนี้ เพื่อใช้ในวัยเกษียณ ยามชราภาพ ขณะที่เงินในกองทุน 2-3 หมื่นล้านใช้ไปในเรื่องการรักษาพยาบาล

“การที่รัฐจะรับแรงงานนอกระบบเข้ามาในระบบประกันสังคม เพื่อต้องการสร้างสวัสดิการของคนในชาติให้เสมอภาคกันตามนโยบายนั้นจะต้องเดินให้ถูกทาง เพื่อให้ประสบความสำเร็จ เช่น ตั้งกองทุนลักษณะนี้ให้กับคนในสาขาอื่นๆ เหมือน สปสช. กองทุนชุมชน เป็นต้น”

ประกันสังคมภายใต้ประชาวิวัฒน์ ยังไม่โดนใจ

“มาตรา 40 ของระบบประกันสังคม สิทธิประโยชน์ คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย และการที่ต้องส่งแพงถึง 3,360 บาท แต่ได้สิทธิประโยชน์แค่ 3 อย่าง การเก็บเป็นรายปี ทั้งๆที่แรงงานนอกระบบมีรายได้ไม่แน่นอน ไม่ต่อเนื่องทำให้ไม่สามารถส่งเงินเป็นก่อนได้” เครือข่ายแรงงานนอกระบบ “สุจิน รุ่งสว่าง” เริ่มต้นให้ข้อมูล สาเหตุที่มาตรา 40 ในระบบประกันสังคมไม่ได้สร้างแรงจูงใจให้แรงงานนอกระบบ อยากเข้าไปอยู่ในระบบเลย

“สุจิน” ชี้ไปที่ “หัวใจ” ของการขับเคลื่อนของแรงงานนอกระบบที่ผ่านมา คือเรื่องบำนาญ ในระบบประกันสังคม แต่ประกันสังคมภายใต้ประชาวิวัฒน์ ที่รัฐบาลประกาศนั้น แบบที่ 1 ถ้าในกรณีที่จ่าย 70 รัฐบาลสมทบ 30 ก็จะได้สิทธิ 3 อย่าง เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต แต่ไม่มีเรื่องบำเหน็จ หรือบำนาญ

เมื่อมาดูแบบที่ 2 กรณีที่จ่าย 100 บาท รัฐบาลสมทบ 50 บาท ก็จะได้สิทธิในเรื่องของบำเหน็จชราภาพ ทั้งนี้ สุจิน บอกว่า ในระบบประกันสังคมนั้น มีบำเหน็จอยู่แล้ว ปัญหา คือ มีข้อห้ามเข้ากองทุนเงินออมฯ หมายความว่า โดนตัดสิทธิ์ตรงนี้ ขณะที่แบบที่ 1 เปิดสิทธิ์ สามารถเข้ากองทุนเงินออมฯได้

“ทั้ง 2 แบบนี้ยังไม่โดนใจแรงงานนอกระบบ อยากเห็นในมาตรา 40 มีทั้งบำเหน็จและบำนาญ”

พร้อมบอกสถิติอายุแรงงานนอกระบบ ส่วนใหญ่เป็นคนที่มีอายุก่อนวัยทอง ที่เหลือไม่วัยทองก็หลังวัยทอง อายุขนาดนี้ต้องการความมั่นคง ในชีวิตยามชราภาพ การไม่มีสวัสดิการด้านนี้ กลับกลายเป็นผลักภาระยามแก่ชราไปให้ลูกหลาน

สุดท้าย เธอเสนอว่า ควรมีกลไกการเชื่อมโยงระหว่างประกันสังคม กับกองทุนเงินออมฯ ให้ 2 กองทุนมีการเชื่อมโยงกัน โดยที่ไม่สร้างความสับสนให้กับแรงงานนอกระบบ ที่กำลังจะส่งเงินสมทบในอนาคต

ก่อนจะพูดแทนแรงงานนอกระบบกว่า 24 ล้านคน ที่อยากได้ความมั่นคงในยามชราภาพ และสามารถอยู่ในสังคมแบบไม่ต้องแบบมือขอใคร โดยขอไม่ให้ตัดสิทธิ์การออมในกองทุนเงินออมฯ หากอยู่ในกองทุนประกันสังคม...