หลัง 19 กันยายน 2549 สิ่งแรกที่ คปค. ประกาศคือ ให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนเสีย
แล้วใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว มาตราที่สำคัญอย่างยิ่งคือ มาตรา 36 และ มาตรา 37
ในสถานการณ์ปัจจุบันขอยกแค่ มาตรา37 มาให้เปรียบเทียบ
"มาตรา 37 บรรดาการกระทำทั้งหลายซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึด และควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 ของหัวหน้า และคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมตลอดทั้งการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าวหรือของผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอันได้กระทำไปเพื่อการดังกล่าวข้างต้นนั้น
การกระทำดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่ว่าเป็นการกระทำเพื่อให้มีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ รวมทั้งการลงโทษและการกระทำอันเป็นการบริหารราชการอย่างอื่น ไม่ว่ากระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำหรือผู้ถูกใช้ให้กระทำ และไม่ว่ากระทำในวันที่กล่าวนั้นหรือก่อน หรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมาย ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง"
* * * * *
อ่านกี่ครั้งกี่ครั้งผมก็อดสำลักความอยุติธรรมไม่ได้ เสมือนใครสักคนอัดกรวดทรายยัดลงลำคอทุกที
จริงๆแล้ว มาตรานี้เปรียบดั่งคำสารภาพผิดดีๆนี่เอง
ไหนอ้างว่าต้องทำเพื่อแก้ไขบ้านเมืองให้พ้นจากภัยพิบัติ เมื่อทำความดีแล้วจะผิดได้อย่างไร
แล้วใยจึ่งออกกฎหมายอภัยโทษให้ตนเอง?????
วิถีชน prachatalk.com 17พ.ย.2554
* * * * *
เขาเอามายัดไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เรียบร้อยแล้วครับ ไม่ใช่แค่ประกาศ คปค.อย่างเดียว โดยยกเอา ฉบับชั่วคราว มารับรองถาวรจนถึงวันนี้
มาตรา 309 บรรดาการใดๆที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าวไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
มีชัย ฤชุพันธุ์
@ 4 ข้อเสนอนิติราษฎร์ "ลบล้างผลพวงรัฐประหาร 19 กันยา"
@ 027 Pictures...Bangkok Underwater 26 October 2011
@ 029 ชมภาพชุด! นายกฯปูลงเรือเยี่ยมประชาชนเขตดอนเมืองที่ถูกน้ำท่วมขัง...และภาพสวยๆจากสื่อมะกัน
@ 06 ทหารลูกผู้ชายจริง มีหรือไม่? นายกฯปู..จะเรียกตัวมาใช้งานได้ถูก..คน
@ 07 อ.จูงลา จะล่ารายชื่อไล่นายกฯปู ถาม ปชช. 16 ล้านเสียง หรือยัง???
@ ด้วยความเคารพ...ผมรู้สึกว่าพวกกระบวนการโป้งๆชึ่ง มันอยากให้กรุงเทพฯวิบัติจากน้ำท่วม
@ ชมภาพสวยๆทั้ง 3 ชุด บาหลี-ต้อนรับฮิลลารี-บันคีมูนที่ทำเนียบฯ
@ ทำไม? ทำไม?? ทำไม????????????
@ 08 เห็นด้วยไหม ว่าความเป็นจริง ประเทศไทย เกิดปัญหา จากความไม่กล้า และกฎหมายปัญญาอ่อน
@ ภาพชุดนายกฯยิ่งลักษณ์เยี่ยมเยือน บรูไน, อินโดนีเซีย, กัมพูชา, ลาว, เมียนมาร์ ชุดที่1
@ ภาพชุดนายกฯยิ่งลักษณ์เยี่ยมเยือน เวียดนาม ชุดที่2
@ ภาพชุดนายกฯยิ่งลักษณ์เยี่ยมเยือน สิงคโปร์ ชุดที่3
@ ภาพชุดนายกฯยิ่งลักษณ์เยี่ยมเยือน อินเดีย ชุดที่4
@ ภาพชุดนายกฯยิ่งลักษณ์เยี่ยมเยือน ฟิลิปปินส์ ชุดที่5
@ ภาพชุดนายกฯยิ่งลักษณ์ร่วมประชุมที่สวิสเซอร์แลนด์ ชุดที่6
@ ภาพชุดนายกฯยิ่งลักษณ์เยี่ยมเยือน มาเลเซีย ชุดที่7
@ ภาพชุดนายกฯยิ่งลักษณ์เยี่ยมเยือนกองทัพไทย
@ ภาพชุดงานสโมสรสันนิบาต วันเฉลิมพระชนมพรรษา 5ธ.ค.2554
@ แจกปฏิทิน พ.ศ.2555 ครับ เชิญคลิกโหลดที่นี่...
@ "เจ้าอาวาสวัดดอนเมืองจำได้ นายกฯ "ด.ญ.ปู" ทะเลาะกับหมาแมว
@ ชมภาพชุด&Clip...งานแต่งน้องเอม12ธ.ค.54
@ รำค๊าญ..รำคาญที่ยังมีคนพูดว่าอภิสิทธิ์ได้เป็นนายกฯตามระบอบประชาธิปไตย
@ 81 ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร...‘ดรัมเมเยอร์-ไทยแลนด์แบนด์’
@ อีกหนึ่งเสียงที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญครับ
@ เมื่อผมไปอเมริกาครั้งแรกเมื่อเดือน มกราคมปี 1972.....ผมมีเงินติดตัวไป $80.00
คลิกที่ภาพ...เพื่อดูขนาดที่ใหญ่ขึ้น @ โหลดเก็บไว้ในcomเชิญคลิกที่นี่...
"ดร.สุนัย" เอาจริง ยื่นเอกสาร "ศาลอาญาระหว่างประเทศ"
วันที่ 9 ธันวาคม 2554 ส.ส.สุนัย จุลพงศธร พร้อมด้วย ฯพณฯ ดร.วีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์และคณะ ได้เดินทางไปศาลอาญาระหว่างประเทศ ซึ่งมีบัลลังก์ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
ในการณ์นี้ ส.ส.สุนัย จุลพงศธร ในฐานะประธานกรรมาธิการการต่างประเทศ ได้นำคณะเข้าเยี่ยมศาลอาญาระหว่างประเทศ International Criminal Court (ICC.) เพื่อคารวะ นายฮันส์-พีเทอร์ โคล (Hans-Peter Kaul) รองประธานคนที่2 รักษาการในตำแหน่งประธานศาลอาญาระหว่างประเทศ ได้มีการสนทนาถึงความเป็นมาของ ICC. และบทบาทในการปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศที่เป็นชาติสมาชิก
มร.ฮันส์ ได้กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีหลายประเทศได้มีความตื่นตัวที่จะเข้ามาร่วมเป็นสมาชิก ICC. แล้วกล่าวต่ออีกว่า ท่านเคยเดินทางมาเยือนประเทศไทยเมื่อเดือนมกราคม 2554 ที่ผ่านมา ก่อนหน้าที่ท่านจะเดินทางมายังไทยนั้น ICC. มีสมาชิก 114 ประเทศ แต่เนื่องจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นของโลกปัจจุบันเพียง 10 เดือนจนถึงวันนี้ได้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 120 ประเทศ และประเทศที่อยู่ใกล้ๆประเทศไทยที่อยู่ในกลุ่มชาติอาเซียนที่เป็นสมาชิก ICC. แล้วอย่างสมบูรณ์ คือ ประเทศฟิลิปปินส์ กับ กัมพูชา และขณะนี้ ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และ สิงคโปร์ กำลังดำเนินการที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกและลงนามในสัตยาบันเข้าร่วมเป็นสมาชิกโดยสมบูรณ์ต่อไป
มร.ฮันส์ ยังกล่าวต่ออีกว่า เป็นความเข้าใจผิดในเรื่องของการที่ประเทศที่เป็นสมาชิก ICC. แล้วจะเป็นการลิดรอนอำนาจอธิปไตยทางศาลของแต่ละประเทศ เพราะว่า ICC. นั้นจะต้องเคารพอธิปไตยของศาลในประเทศนั้นๆด้วย แล้วเรื่องทั้งหมดนั้นจะต้องเริ่มที่ศาลของประเทศนั้นๆก่อน เว้นเสียแต่ว่าประเทศนั้นๆมีภาวะสงครามหรือเหตุความจำเป็นต่างๆที่ทำให้ไม่สามารถจะดำเนินการให้ความเป็นธรรมได้ เรื่องต่างๆเหล่านั้นจึงจะเข้าระบบงานของ ICC. และหากเข้ามาอยู่ในระบบของ ICC. แล้วก็จะให้ความช่วยเหลือทางด้านข้อมูลข่าวสารต่างๆที่เกี่ยวกับระบบความยุติธรรมของนานาชาติที่เป็นสมาชิกร่วมกัน
สำหรับประเทศไทยได้เข้าร่วมลงนามเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2543 ในสมัยรัฐบาลของ นายชวน หลีกภัย แต่ยังมิได้ลงนามในสัตยาบันจนถึงขณะนี้ เนื่องจากต้องพิจารณาตามขั้นตอนของกฎหมายในประเทศที่กำหนดไว้ก่อน โดยก่อนหน้าการลงนามคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2542 แต่งตั้ง "คณะกรรมการพิจารณาธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศ" ทั้งหมด 16 ท่าน โดยมีตัวแทนจากฝ่ายต่างๆ อาทิ อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ, รองอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ, กระทรวงกลาโหม, กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงยุติธรรม, สำนักงานอัยการสูงสุด, ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, สภาความมั่นคงแห่งชาติ, กองทัพบก, กองทัพเรือ, กองทัพอากาศ, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, องค์การระหว่างประเทศ, เจ้าหน้าที่กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศอีก 3 คน เป็นเลขานุการ ผู้ช่วยเลขาฯ นอกนั้นทั้งหมดเป็นคณะกรรมการโดยมี อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายฯ เป็นประธานฯ เมื่อพิจารณาแล้วเห็นควรเหมาะสมถูกต้องจึงมีมติเห็นชอบในสมัยรัฐบาล นายชวน หลีกภัยจึงเข้าร่วมลงนามเข้าเป็นสมาชิกของ ICC. แต่ในทางปฏิบัติจำเป็นจะต้องดำเนินการปรับกระบวนการทางกฎหมายให้สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศและจะต้องลงนามในสัตยาบันเข้าเป็นภาคี แต่เหตุการณ์ก็ปล่อยทิ้งมากว่า 10 ปีแล้วไม่ได้ดำเนินการให้เป็นสมาชิกโดยสมบูรณ์จนถึงปัจจุบัน
สำหรับประธานศาลอาญาระหว่างประเทศคนปัจจุบันท่านนี้น่าสนใจมากเพราะเป็นชาวเอเชีย ชื่อ นาย ซอง ซาง-ฮยุน (Song Sang-Hyun) ซึ่งเป็นชาวเกาหลีใต้ ในการสนทนาในครั้งนี้ท่านประธานฯ ได้สื่อผ่านทาง มร.ฮันส์ รองประธานคนที่2 ซึ่งเป็นรักษาการประธานฯ ขอให้ ส.ส.สุนัย จุลพงศธร ในฐานะประธานกรรมาธิการการต่างประเทศ ได้นำความเข้าใจอันดีและถูกต้องนี้ไปเผยแพร่ต่อหน่วยงานต่างๆ ทั้งรัฐบาล, สภา, หน่วยงานทหาร, ศาล และประชาชน เพื่อเชิญชวนให้ประเทศไทยได้ลงนามในสัตยาบันเข้าเป็นภาคีโดยสมบูรณ์