ช่วยกันเพิ่มช่องทาง ข้อมูล ข่าวสาร-สาระความรู้ ให้กับพี่น้องชาวแรงงานนอกระบบ
"รู้ลึก รู้ทัน รู้จริง รู้ก่อน...ไม่โดนเขาหลอกให้ช้ำใจ"
"รอโหลดซักกะเดี๋ยว..ตะเอง"


. . . สวัสดีครับ . . .
ยินดีต้อนรับทุกๆท่าน . . . Welcome to . . .
. . . แ ร ง ง า น น อ ก ร ะ บ บ . . . ร่วมด้วยช่วยกัน . . . ขอขอบพระคุณเจ้าของclipภาพถ่ายและบทความทุกๆท่านที่กรุณาเอื้อเฟื้อแบ่งปัน . . .น้ำใจซื้อขายไม่ได้ แต่น้ำใจให้กันได้...อิอิ

@ ปู้นนน...!!! คนเมืองใต้เจียงใหม่ของหมู่เฮาลงไปตางปู๊นนน..... @ 2กุมภา..กาเบอร์ 15 ทั้ง ส.ส.เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย


PlayListนี้ เริ่มต้นด้วย "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน" เรียงลำดับตั้งแต่ ตอนแรก ถึง ตอนปัจจุบัน ..ท้ายเพลย์ลิสท์เป็นคลิป "เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญ : จะทำอย่างไร?" วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล (สยามซิตี้เดิม) คลิปนี้..วิทยากร รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นเริ่มนาที 0:14:24
คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...
หรือคลิกที่นี่.. @ AsiaUpdate "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน"

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2554

47... ทักษิณห่วงใยประชาชน ร่วมบริจาคเรือช่วยน้ำท่วม

@ 4 ข้อเสนอนิติราษฎร์ "ลบล้างผลพวงรัฐประหาร 19 กันยา"
@ "พนัส ทัศนียานนท์" อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มธ.โต้15คำถามของอธิการนาซี และ แถลงการณ์กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน
@ ดูกันชัดๆๆๆๆๆ คำพิพากษาศาลฯยกฟ้อง ยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน19ก.ย.2549 แล้วผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดชอบโดยสิ้นเชิง
@ 61> เปิดคำวินิจฉัยผู้พิพากษาเสียงส่วนน้อย ปฏิเสธอำนาจคณะรัฐประหาร!!!!!
@ 01 คุณปูครับ...ปรับเปลี่ยนงาน ปชส.ของรัฐบาลและ ศปภ.ได้แล้ว
@ 68> นายกฯปูเฉียบขาด งัดม.31พ.ร.บ.ป้องกันฯยึดอำนาจ กทม.
@ 02 ไอ้ชาติห-มาตัวไหนใส่ร้ายนายกฯปู มานี่มาดูให้เต็มตา...






ทักษิณห่วงใยประชาชน ร่วมบริจาคเรือช่วยน้ำท่วม

ทักษิณ ลั่น! ต้องหาเงินแสนล้าน แก้ไขปัญหาน้ำท่วมแบบบูรณาการ เผยรัฐบาลมีแหล่งทุนอยู่แล้ว ไม่ต้องกู้ พร้อมกันนี้ ยังได้บริจาคเรือมอบให้คนเสื้อแดงอีกด้วย

เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษกับผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ที่เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เกี่ยวกับการฟื้นฟูวิกฤติน้ำท่วมว่า ต้องหาเงินให้ได้อย่างน้อย 1 แสนล้านบาท เพื่อฟื้นฟูหลังน้ำลด แต่ไม่จำเป็นต้องกู้เงิน เนื่องจากรัฐบาลมีแหล่งทุนเตรียมจัดหาไว้แล้ว ซึ่งก็ถึงเวลาที่ต้องแก้ไขปัญหาน้ำอย่างบูรณาการกันจริงจังเสียที และต้องทำอย่างรวดเร็วด้วย

พ.ต.ท.ทักษิณ ชี้แจงต่อว่า จะต้องนำแหล่งทุนที่รัฐบาลมีอยู่มาผ่อนส่งสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมและน้ำแล้ง และเมื่อพิจารณาอย่างหยาบๆแล้วต้องใช้เงิน 4 แสนล้านบาท ซึ่งถือว่านิดเดียว ถ้าคิดว่าเสียหายขนาดนี้ทุกปี และสามารถผ่อนเป็นสินค้าเกษตรได้กับประเทศที่ต้องการซื้อสินค้าเกษตร ซึ่งอาจอยากมารับงานนี้ก็เอาเงินมาลงอย่างเช่นประเทศจีน เนื่องจากจีนมีเงินสดเยอะ ถ้าเราเป็นลูกหนี้เราก็เป็นลูกหนี้ที่น่าเชื่อถือ และจีนก็อยากจะให้เราเป็นลูกหนี้ที่ชำระโดยสินค้าเกษตร ซึ่งเรื่องนี้รัฐบาลอาจจะต้องทำงานหนักหน่อยในเรื่องติดต่อสื่อสาร (จีทูจี) กับจีน

อย่างไรก็ตาม สำหรับปัญหาน้ำท่วมที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็ยังได้บริจาคเรือช่วยน้ำท่วม โดยด้านหนึ่งเขียนข้อความว่า "จากใจคนไกล ที่ห่วงใยประชาชน" และอีกด้านเขียนว่า "พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร" ซึ่งนายวิสา คัญทัพ แกนนำคนเสื้อแดงเป็นตัวแทนมอบให้แก่ น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย


ยอดบริจาคช่วยน้ำท่วมเครือญาตินายกฯปู กลุ่มธุรกิจชินฯ ควักกระเป๋าช่วยอื้อ...!!

วันนี้(14ต.ค.54) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับการบริจาคสิ่งของช่วยเหลือน้ำท่วม มีที่น่าสนใจ อาทิ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ภริยา และ น.ส.ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย บริจาค 10 ล้านบาท พร้อมเรืออ่างพลาสติก รวมมูลค่า 2.7 แสนบาท นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ร่วมกับสหฟาร์มบริจาคอาหารประเภทเนื้อไก่ บริษัทสหวิริยา สตีลอินดัสตรี จำกัด มหาชน มอบเรือเหล็กนวัตกรรม 100 ลำ มูลค่า 1 ล้านบาท ผู้ปกครองและนักเรียนโรงเรียนนานาชาติฮาร์โรว์ กทม.กลุ่มเพื่อน ด.ช.ศุภเสกขข์ อมรฉัตร หรือน้องไปป์ บุตรชาย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี บริจาค 77,310 บาท เอไอเอส. และไทยคม มอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมเพิ่มอีก 30 ล้านบาท และยังมีบริษัทสิงค์เทล พันธมิตรทางธุรกิจของ เอไอเอส. ร่วมมอบเงินอีก 2 ล้านบาท และมอบเรือ 43 ลำ ถุงยังชีพ เสื้อผ้า แก่ผู้ประสบภัย และติดตั้งไวไฟที่ศูนย์ราชการอพยพของสาธารณสุข ศาลากลาง พระนครศรีอยุธยา รวมแล้ว เอไอเอส. บริจาคช่วยเหลือน้ำท่วมแล้ว 70 ล้านบาท


สถานการณ์น้ำท่วมใหญ่เข้าสู่ช่วงไฮไลต์
วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 21 ฉบับที่ 7626 ข่าวสดรายวัน

น้ำเหนือก้อนมหึมาจู่โจมฝ่าด่านนครสวรรค์ เคลื่อนขบวนทะลุทะลวงผ่านชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี เข้าพระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี

สร้างความเสียหายตามรายทางให้กับบ้านเรือนประชาชน พื้นที่เศรษฐกิจ โรงงานอุตสาหกรรมเสียหายไปแล้วไม่ต่ำกว่าแสนล้านบาท

ก่อนทะลักเข้าโอบล้อมกรุงเทพฯ ด้วยปริมาณน้ำกว่า 8,000 ล้านลูกบาศก์เมตร

ในจังหวะ"ดาบสอง"น้ำทะเลหนุนสูงไปจนถึงวันที่ 18 ต.ค. ทั้งยังต้องรอลุ้นต่อถึง"ดาบสาม"กับปริมาณน้ำฝนที่ถล่มลงมาไม่หยุดหย่อน

น้ำเหนือ น้ำหนุน น้ำฝน ทั้ง 3 อย่างนี้คือเงื่อนไขสำคัญที่มาบรรจบกันโดยมิได้นัดหมาย ทำให้กรุงเทพฯ ยังหนีไม่พ้นภาวะลูกผีลูกคน ต้องลุ้นระทึกกันชนิดนาทีต่อนาที

แต่กระนั้นก็ตาม ข้อมูลล่าสุดชี้ว่า โอกาสที่ กทม.จะรอดพ้นไปได้มีค่อนข้างมาก

ข้อมูลจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา

จังหวัดที่ได้รับผลกระทบอุทกภัยในภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคกลาง รวม 61 จังหวัด มีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 280 ราย เดือดร้อนเกิน 2.4 ล้านครัวเรือน หรือเกือบ 8.3 ล้านคน

ด้วยตัวเลขที่ปรากฏจึงไม่แปลกหากน้ำท่วมครั้งนี้จะได้รับการจดบันทึกให้เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งสาหัสสากรรจ์ที่สุดในรอบ 50 ปี

ซัดกระหน่ำ"รัฐบาลยิ่งลักษณ์"ที่มีอายุประสบการณ์บริหารประเทศแค่เดือนเศษจนโซซัดโซเซในช่วงแรก

แต่ก็เป็นอะไรที่"ตั้งหลักได้เร็ว"กับการตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย หรือ ศปภ. มอบหมายให้ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรมเป็น"พ่องาน"ในฐานะผอ.ศูนย์ฯ

ขณะที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ ก็สามารถรีดฟอร์ม"ผู้นำ"ออกมาได้ทันท่วงทียามบ้านเมืองเกิดวิกฤต ขนาดอดีตนายกฯบรรหาร ศิลปอาชา ยังกล่าวชื่นชม

แถมออกตัวให้ด้วยว่าปัญหาตอนนี้ไม่ว่ารัฐบาลชุดไหน หรือต่อให้มี 10 รัฐบาลก็รับมือกับปริมาณน้ำขนาดนี้ไม่ไหว

นอกเหนือจากภาพการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศยกระดับการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยขึ้นเป็น"วาระแห่งชาติ"

ระดมกำลังทุกภาคส่วนทั้งภาคการเมือง ภาครัฐ ภาคเอกชน ทหาร ตำรวจ และภาคประชาชน เข้าร่วมวงหารือในที่ประชุม ศปภ.

และจากที่เคยฮือฮากลายเป็นภาพเห็นกันจนชินตา คือ นายกฯยิ่งลักษณ์ ควงคู่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ออกตรวจสถานการณ์พื้นที่ประสบภัยรายวัน

ไม่ว่าขึ้นรถ ลงเรือ ขี่เฮลิคอปเตอร์ เห็นนายกฯยิ่งลักษณ์ที่ไหน เป็นต้องเห็นพล.อ.ประยุทธ์ที่นั่น

ผลพลอยได้จากการที่ผู้นำรัฐบาลกับผู้นำกองทัพเคียงบ่าเคียงไหล่ต่อสู้กับวิกฤตน้ำท่วม ทำให้บรรยากาศความตึงเครียดทางการเมืองที่เป็นมาตลอดตั้งแต่รัฐบาลชุดนี้เข้ามา เริ่มคลายตัวลง

ล่าสุดรัฐบาลด้วยความร่วมมือของหน่วยงานทุกกระทรวง ทบวง กรม ยังคิดค้นผลักดันมาตรการต่างๆ ออกมาเพื่อแบ่งเบาภาระให้ประชาชนผู้ประสบภัย

ทั้งการขอผู้ประกอบการช่วยตรึงราคาน้ำมันไว้ก่อน การผ่อนผันชำระค่าไฟฟ้าเป็นเวลา 3 เดือน พักชำระหนี้โดยไม่คิดดอกเบี้ยในส่วนของผู้เช่าซื้อบ้านกับการเคหะ รวม 3 เดือน

กระทรวงการคลังสั่งให้ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ หาแนวทางหยุดพักชำระหนี้ให้ผู้ประสบภัยจนกว่าน้ำจะแห้ง ควบคู่กับการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อซ่อมแซมบ้านเรือน และเป็นทุนหมุนเวียนในการทำอาชีพใหม่

ขณะที่กรมสรรพากรออกมาตรการภาษี ให้ผู้บริจาคเงินช่วยน้ำท่วมนำไปหักลดหย่อนภาษีเพิ่มเป็น 1.5 เท่า

ทั้งหมดนี้ยังไม่รวมเงินชดเชยอีกครอบครัวละ 5,000 บาท และชดเชยพื้นที่การเกษตรอีกไร่ละ 2,222 บาทที่รัฐบาลทยอยจ่ายไปบ้างแล้ว

อย่างไรก็ตามมีการมองว่าการแก้ปัญหาน้ำท่วมจะเป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพของรัฐบาล แต่โจทย์ที่ยากจริงๆ สำหรับคณะผู้บริหารประเทศภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ อยู่ที่สถานการณ์ภายหลังน้ำลดมากกว่า

ยังไม่มีการประเมินแน่ชัดว่ารัฐบาลต้องใช้เม็ดเงินจำนวนเท่าใดในการฟื้นฟูความเสียหายหลังภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งใหญ่นี้

แต่เบื้องต้นรัฐบาลได้เตรียมตัวเลขเบื้องต้นไว้ที่จำนวน 80,000 ล้านบาท ซึ่งจะได้มาจากการหั่นงบลงทุนของทุกกระทรวงลง 10 เปอร์เซ็นต์

กระนั้นก็ตามฉากสำคัญยังเป็น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ที่ชิงเปิดประเด็นข้ามฟากมาจากดูไบ ถึงมาตรการฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

เป้าหมายให้ทุกอย่างกลับคืนสู่สภาพเดิมทั้งบ้านเรือน โบราณสถาน วัด โรงเรียน พื้นที่เกษตรกรรม และโรงงานอุตสาหกรรม

เรียกความเชื่อมั่นกลับคืนสู่ประเทศโดยเร็ว

การดำเนินการตรงนี้รัฐบาลจำเป็นต้องหาเงินให้ได้อย่างน้อย 1 แสนล้านบาท ซึ่งได้เตรียมจัดหาแหล่งทุนไว้แล้ว

ส่วนการแก้ปัญหาระยะยาวต้องทำหลายอย่างเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งไปพร้อมกัน ทั้งโครงการแก้มลิง เขื่อนกักเก็บน้ำ และเขื่อนกั้นน้ำทะเลป้องกันไม่ให้น้ำท่วมกรุงเทพฯ

ส่วนจะสร้างอะไรไว้ตรงไหน รวมถึงการตัดเส้นทางเดินของน้ำใหม่ รัฐบาลต้องนำภาพถ่ายดาวเทียมในช่วงน้ำท่วมมาศึกษาให้ละเอียด

เบ็ดเสร็จคาดว่าต้องใช้เงินงบประมาณอีกไม่ต่ำกว่า 400,000 ล้านบาท ถึงจะเป็นเงินจำนวนมากแต่ก็คุ้มค่าหากเปรียบเทียบจากตัวเลขความเสียหายทุกปีโดยเฉพาะปีนี้

สำหรับที่มาของแหล่งเงิน พ.ต.ท.ทักษิณชี้ช่องให้ไปกู้จากประเทศจีน แล้วจ่ายคืนเป็นสินค้าเกษตร นอกจากนี้ยังช่วยเจรจาดึงนักลงทุนต่างชาติเพื่อเข้ามาลงทุนในไทยอีกทาง อธิบายส่งต่อให้รัฐบาลเพื่อไทยรับไปปฏิบัติ

พ.ต.ท.ทักษิณฉวยโอกาสตอนกระแสสังคมเรียกร้องหามาตรการป้องกันน้ำท่วมระยะยาว ที่กำลังเป็นประเด็นมาแรงแซงโครงการประชานิยมอื่นๆที่รัฐบาลเองก็ถูกหาว่า"ดีแต่โม้"

โชว์มันสมองระดับเวิลด์คลาส กลบข้อครหา"ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ"เสียสนิท