ช่วยกันเพิ่มช่องทาง ข้อมูล ข่าวสาร-สาระความรู้ ให้กับพี่น้องชาวแรงงานนอกระบบ
"รู้ลึก รู้ทัน รู้จริง รู้ก่อน...ไม่โดนเขาหลอกให้ช้ำใจ"
"รอโหลดซักกะเดี๋ยว..ตะเอง"


. . . สวัสดีครับ . . .
ยินดีต้อนรับทุกๆท่าน . . . Welcome to . . .
. . . แ ร ง ง า น น อ ก ร ะ บ บ . . . ร่วมด้วยช่วยกัน . . . ขอขอบพระคุณเจ้าของclipภาพถ่ายและบทความทุกๆท่านที่กรุณาเอื้อเฟื้อแบ่งปัน . . .น้ำใจซื้อขายไม่ได้ แต่น้ำใจให้กันได้...อิอิ

@ ปู้นนน...!!! คนเมืองใต้เจียงใหม่ของหมู่เฮาลงไปตางปู๊นนน..... @ 2กุมภา..กาเบอร์ 15 ทั้ง ส.ส.เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย


PlayListนี้ เริ่มต้นด้วย "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน" เรียงลำดับตั้งแต่ ตอนแรก ถึง ตอนปัจจุบัน ..ท้ายเพลย์ลิสท์เป็นคลิป "เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญ : จะทำอย่างไร?" วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล (สยามซิตี้เดิม) คลิปนี้..วิทยากร รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นเริ่มนาที 0:14:24
คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...
หรือคลิกที่นี่.. @ AsiaUpdate "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน"

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

2... สมัครgmail จะได้เข้าเว็บเม้าท์กัน พี่น้อง!!!!


...ต้นตระกูลผมแต่ปางบรรพ์ หลังย่ำสายัณห์ดวงตะวันเลี่ยงหลบ จะเดินทางเยื้องย่างไปไหน จำเป็นต้องใช้ จุดไต้จุดคบ

ปัจจุบันเห็นจะไม่ดี ขืนจุดไต้ที ถ้ามีใครมาพบ อาจต้องอายขายหน้าอักโข เขาต้องพากันโห่ ว่าผมโง่บัดซบ

ยุคนี้มันต้องทันสมัย เพื่อนผมทั่วไปใช้ถ่านไฟตรากบ ทั้งวิทยุ และกระบอกไฟฉาย คุณภาพมากมาย สะดวกสบายแทนคบ

ถ่านก็มีหลายอย่างวางกอง เขากลับรับรองว่า ต้องแพ้ตรากบ เหตุ และผลเขาน่าฟังครับ ขอท่านจงสดับเถอะท่านที่เคารพ...

คือเขาบอกว่า ถ่านไฟฉายตรากบ ไม่ใช่ของนอกส่งมาขยอกเงินไทย และก็ไม่ใช่ของทำภายในที่โกยกำไรส่งออกนอก

ถ่านไฟฉายตรากบ ทำในเมืองไทย โดยให้เงินกำไรหมุนเวียนอยู่ในเมืองไทย ทำให้ดุลการค้าของไทยดีขึ้น

ดังนั้น นอกจากผมจะชอบกินกบ ชอบเพลงพม่าแทงกบ และชอบเล่นไพ่กบแล้ว เดี๋ยวนี้ผมยังชอบถ่านไฟฉายตรากบอีกด้วย อ๊บๆ

*
เพลงโฆษณา ถ่านไฟฉายตรากบ โดย คุณนคร มังคลายน เป็นบทประพันธ์ที่เยี่ยมมาก แต่งยาก เพราะลงท้ายด้วย แม่กบ...

คลิกที่นี่...

พี่น้อง...นั่นคือความทันสมัยเมื่อราว 40 กว่าปีที่แล้ว เป็นช่วงที่เปลี่ยนแปลงจากการจุดไต้เพื่อให้ได้แสงสว่างมาเป็นการใช้ไฟฉาย

พอมายุคนี้ก็เป็นการเปลี่ยนจากการส่งจดหมายมาเป็นการส่ง email ที่สะดวกรวดเร็วและไม่มีค่าใช้จ่าย

สำหรับในยุคนี้ใครไม่มี email ถ้าเพื่อนรู้เข้าก็คงจะถูกแซวว่า นี่เธอกำลังจะตกยุค ชั่งล้าหลังซะเหลือเกิน

email นับเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับคนในยุคสมัยนี้ มีประโยชน์มากมายทั้งการส่งข่าวสาร การรับข่าวสาร และการส่งข้อมูลถึงกัน ปัจจุบันมีการใช้ email กันอย่างแพร่หลาย นักเรียน นักศึกษาส่งงานอาจารย์ก็ส่งผ่าน email ส่งรูปภาพให้กันก็ส่งผ่าน email สมัครงานก็ต้องส่งเอกสารผ่าน email คนอีกซีกหนึ่งของโลกสามารถส่งข่าวสารถึงกันโดยทาง email ซึ่งใช้เวลาในการรับเพียงไม่กี่วินาที และสามารถแนบไฟล์เอกสารได้มากเท่ากับหนังสือเป็นเล่มๆ

email เป็นการสื่อสารผ่านระบบอินเตอร์เน็ต หากท่านอ่านบทความนี้จากหนังสือก็คงต้องบอกกล่าวกันถึงเรื่องอินเตอร์เน็ต แต่ที่อ่านอยู่ในขณะนี้ได้ก็แปลว่าทุกท่านรู้จักอินเตอร์เน็ตแล้วเป็นอย่างดี แต่บางคนก็ยังไม่มี email ด้วยเหตุผลว่าไม่รู้จะมีไปทำไม ไม่รู้จะสมัครยังไง ไม่รู้จะใช้ยังไง ไม่ค่อยได้ใช้ ไม่รู้จะสมัครไปทำไม ไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่อยากศึกษา แต่พี่น้อง...ตอนนี้มันจำเป็นต้องใช้แล้ว

email นั้นเป็นการส่งข่าวสารที่ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ สมัครใช้งานก็ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย สมัครเก็บไว้ก็ได้ นานๆ ใช้ทีก็ไม่เสียหายอะไร การใช้งานนั้นก็แสนง่าย เมื่อสมัครแล้วก็ลองใช้ไปเดี๋ยวก็เข้าใจ ผู้ให้บริการก็เอาใจผู้ใช้โดยการเปลี่ยนภาษามาเป็นภาษาไทยให้เราได้ใช้งานกันง่ายขึ้น เมื่อใช้ใหม่ๆ ก็ทดลองส่ง email ถึงตัวเองก่อน ส่งผิดส่งถูกไม่มีอะไรเสียหาย

แล้วจะสมัคร email ที่ว่านี้ได้ที่ไหน?

email มีผู้ให้บริการหลายรายจนจำไม่หวัดไม่ไหวทั้งผู้ให้บริการต่างประเทศ และในประเทศ email ที่คนใช้กันแพร่หลายฮ็อตฮิตได้แก่ Hotmail Yahoomail Gmail และมีอีกหลายๆ email ซึ่งมีอยู่มากมายมหาศาล จะสมัครทุกๆ ค่ายก็ได้ ก็ลองสมัครแล้วลองใช้เปรียบเทียบกันดู ถูกใจเจ้าไหนก็ใช้เจ้านั้น หรือสมัครทิ้งไว้ทุกค่ายก็ได้

แต่ถ้าจะให้แนะนำก็ต้องนี่เลย gmail เป็น email ของ google ให้พื้นที่เก็บจดหมายจำนวนมากถึง 7.5 Gb และไม่ตัดทิ้งแม้ไม่ได้ใช้งานนานๆ ส่วน hotmail นั้นจะมีการตัดถ้าหากไม่ได้ใช้งานนานเกิน 30 วัน ส่วน yahoo นั้นก็พอใช้ได้

วิธีการสมัคร email ง่ายมากๆ คลิกที่ลิ้งค์ด้านล่าง จากนั้นก็กรอกข้อมูลต่างๆ ในช่องที่เขากำหนด ก็เท่านั้นเอง...พี่น้อง!

สมัคร gmail คลิกที่นี่

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

1... แรงงานนอกระบบคือใคร?


แรงงานนอกระบบคือใคร?

แรงงานนอกระบบ (Informal Workers) คือ ผู้ใช้แรงงานที่ทำงานโดยไม่มีสัญญาการจ้างงานที่เป็นทางการ หรือไม่มีนายจ้างตามความหมายของกฎหมายแรงงาน ไม่ได้ทำงานอยู่ในสถานประกอบการของนายจ้าง ไม่มีค่าจ้างหรือค่าตอบแทนที่แน่นอน หรือเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรือเป็นผู้ที่ทำงานชั่วคราว แรงงานอกระบบจึงเป็นแรงงานที่ไม่ได้อยู่ในกรอบความคุ้มครองของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายประกันสังคม ทำให้ไม่มีหลักประกันความมั่นคงใดๆในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานที่มั่นคง ค่าตอบแทนแรงงานที่เป็นธรรม สุขภาพความปลอดภัยในการทำงาน และความมั่นคงในการดำรงชีวิตเมื่อเข้าสู่วัยชรา

ลักษณะอาชีพที่เป็นตัวอย่างของแรงงานนอกระบบ เช่น ผู้รับงานไปทำที่บ้าน ผู้รับเหมาช่วงงานอุตสาหกรรมไปทำที่บ้าน (Industrial Outworkers) คนงานที่ทำงานไม่ประจำ ลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างชั่วคราวตามฤดูกาล และลูกจ้างที่ทำงานไม่เต็มเวลา (Part-time workers) ลูกจ้างในโรงงานห้องแถว (Sweatshop) และคนงานที่ทำกิจการของตนเอง (Own Account Workers) อยู่ที่บ้านและโรงงานที่ไม่มีการตรวจสอบจดทะเบียน นอกจากนี้ยังหมายรวมถึงแรงงานอิสระที่ทำงานเพื่อความอยู่รอด เช่น หาบเร่ริมถนน คนขัดรองเท้า คนเก็บขยะ และแรงงานรับใช้ในบ้าน เป็นต้น

เนื่องจากสังคมขาดระบบข้อมูลของแรงงานนอกระบบ ทำให้แรงงานเหล่านี้เข้าข่าย “ไม่มีตัวตน” ส่งผลให้แรงงานเหล่านี้มีเงื่อนไขการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม มีรายได้ไม่แน่นอน ขาดการคุ้มครองทั้งทางด้านแรงงานและหลักประกันทางสังคม ต้องเผชิญความเสี่ยงในทางเศรษฐกิจและสังคมที่รุนแรงและบ่อยครั้งกว่าแรงงานในระบบ ในขณะที่มีความสามารถในการจัดการความเสี่ยงน้อยที่สุด

สำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ILO (International Labour Office) ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ให้ความสนใจและกำหนดภารกิจในการทำงานเรื่องของเศรษฐกิจนอกระบบ (Informal economy) ไว้อย่างจริงจัง ประมาณว่า ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีการจ้างงานภาคนอกระบบมากกว่าในระบบ และประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่มีภาคนอกระบบใหญ่กว่าภาคในระบบมาก โดยมีกำลังแรงงานอยู่ในภาคนอกระบบถึงร้อยละ 80–90 ของกำลังแรงงานทั้งหมด


แรงงานนอกระบบในประเทศไทย

จากรายงาน สถานการณ์ด้านแรงงานของกระทรวงแรงงานไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ระหว่างเมษายน-มิถุนายน ประเทศไทยมีประชากรเฉลี่ย 65.68 ล้านคน มีผู้อยู่ในวัยทำงานคือ อายุ 15 ปีขึ้นไปจำนวน 50.97 ล้านคน และอยู่ในกำลังแรงงาน 36.69 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้มีงานทำ 35.80 ล้านคน เป็นแรงงานในภาคเกษตร 13.33 ล้านคน และนอกภาคเกษตร 22.47 ล้านคน ซึ่งเป็นแรงงานที่อยู่ภายใต้ระบบประกันสังคมจำนวนประมาณ 8.7 ล้านคน และจากผลการสำรวจแรงงานนอกระบบของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2548 รายงานว่ามีแรงงานอยู่ในระบบที่ได้รับความคุ้มครองและหลักประกันทางสังคมประมาณ 13.7 ล้านคน และเป็นแรงงานนอกระบบซึ่งไม่ได้รับการคุ้มครองและหลักประกันทางสังคมจำนวน 21.8 ล้านคน แรงงานนอกระบบสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

1. แรงงานนอกระบบภาคการผลิต เป็นแรงงานนอกระบบกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่ง คือแรงงานที่ทำการผลิตสินค้า หรือทำงานอยู่ที่บ้านของตนเอง ปัจจุบันผู้ทำการผลิตที่บ้านกระจายตัวอยู่ทั่วไปในห้องแถวตรอกซอกซอย ชุมชนแออัดในเมือง และชุมชนชนบทที่รายได้จากเกษตรกรรมไม่สามารถจะยังชีพครอบครัวเกษตรกร แรงงานนอกระบบกลุ่มผู้ทำการผลิตที่บ้านประกอบด้วย

1.1 ผู้รับงานไปทำที่บ้าน (Sub Contracted Workers) เกิดจากการจ้างงานที่นายจ้างในภาคอุตสาหกรรมพยายามลดต้นทุนการผลิต เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจการค้าเสรี ด้วยการอาศัยช่องว่างการคุ้มครองของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานปี 2541 จ้างแรงงานให้ทำการผลิตในบางขั้นตอน หรือทุกขั้นตอน การประกอบชิ้นส่วน ตลอดจนการบรรจุหีบห่อ อยู่ภายนอกสถานประกอบการด้วยค่าจ้างแรงงานราคาถูก งานที่ผู้รับงานไปทำที่บ้านกำลังทำอยู่นั้นมีมากมายหลายประเภท ทั้งการเย็บเสื้อผ้า ผลิตเครื่องหนัง ทำรองเท้า ดอกไม้พลาสติก เจียระไนพลอย และอื่นๆ

1.2 ผู้ผลิตเพื่อขาย (Self Employed) คือ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่ผลิตสินค้าขึ้นจากภูมิปัญญาทักษะความสามารถของตนเอง นำไปจำหน่าย ที่เรารู้จักกันดีในฐานะผู้ผลิตสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) หรือวิสาหกิจชุมชน บางครั้งผู้ผลิตเพื่อขายก็อาจจะรับคำสั่งซื้อ (Order) มาจากผู้ประกอบธุรกิจการขาย หรือธุรกิจการผลิตที่มีขนาดใหญ่กว่า ผู้ผลิตเพื่อขายมีทั้งที่เป็นปัจเจกบุคคล และที่เป็นกลุ่ม ซึ่งในหลายกรณีพบว่าในบุคคลคนเดียวกัน กลุ่มอาชีพกลุ่มเดียวกัน มีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพไปมาระหว่างผู้รับงานไปทำที่บ้านกับผู้ผลิตเพื่อขาย คือเมื่อไม่มีงานส่งมาจากโรงงาน หรือผู้ว่าจ้างก็จะผลิตไว้เพื่อขาย

2. แรงงานนอกระบบภาคบริการ เช่นลูกจ้าง และพนักงานบริการตามร้านอาหาร หาบเร่และแผงลอย คนเก็บขยะ คนรับซื้อของเก่า หมอนวดแผนโบราณ คนขับรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างและรถแท็กซี่สาธารณะ คนทำงานบ้าน เป็นต้น

3.แรงงานนอกระบบภาคเกษตร หมายถึงลูกจ้างภาคเกษตร และเกษตรกรพันธะสัญญา เป็นต้น


ปัญหาของแรงงานนอกระบบ

1. ไม่เป็นที่รับรู้ของสังคม (Invisible) เนื่องจากสังคมไทยขาดระบบข้อมูลของแรงงานนอกระบบ ทำให้แรงงานเหล่านี้เข้าข่าย “ไม่มีตัวตน” ส่งผลให้แรงงานเหล่านี้มีเงื่อนไขการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม มีรายได้ไม่แน่นอน ขาดการคุ้มครองทั้งทางด้านแรงงานและหลักประกันทางสังคม ต้องเผชิญความเสี่ยงในทางเศรษฐกิจและสังคมที่รุนแรงและบ่อยครั้งกว่าแรงงานในระบบ ในขณะที่มีความสามารถในการจัดการความเสี่ยงน้อยที่สุด

2. ไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เนื่องจากกฎหมายสำคัญๆ ด้านแรงงานคือ คือ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ. 2537 พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 พ.ร.บ.ความปลอดภัยในสถานประกอบการ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ และกฎหมายฉบับอื่นๆ ที่มีอยู่ล้วนแต่ครอบคลุมเฉพาะแรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบจึงไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายเหล่านี้ แม้ในปี 2547 กระทรวงแรงงานจะได้ออกกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานรับไปทำที่บ้าน แต่ก็ยังไม่ได้ให้ความคุ้มครองในหลักการที่สำคัญอีกหลายประการ โดยเฉพาะค่าตอบแทนที่เป็นธรรม สาระสำคัญที่กฎกระทรวงให้การคุ้มครองก็คือเรื่องสุขภาพความปลอดภัย แต่ก็ยังคงมีปัญหาในเรื่องกลไก มาตรการการปฏิบัติ และการบังคับใช้กฎหมายอยู่มาก

3. ค่าตอบแทนไม่เป็นธรรมและรายได้ไม่แน่นอน แรงงานนอกระบบส่วนใหญ่ไม่ได้รับค่าแรงขั้นต่ำ และมีรายได้ไม่แน่นอน แม้จะทำงานในลักษณะและมีคุณค่าเดียวกันกับที่ผลิตอยู่ในโรงงานก็ตาม เนื่องเพราะแรงงานเหล่านี้ไม่ได้รับการคุ้มครองจาก พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และขาดการรวมกลุ่มเพื่อต่อรองค่าแรงของตน

4. งานไม่ต่อเนื่อง ไม่สม่ำเสมอ ขึ้นอยู่กับสภาวะการขาย การตลาดของสินค้า หรือสถานการณ์ของสังคม ทำให้ไม่มีความมั่นคงในการทำงาน ไม่สามารถวางแผนการผลิตและแผนการทำงานได้

5. เข้าไม่ถึงประกันสังคม เนื่องจาก พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับปัจจุบันยกเว้นการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ ทำให้ผู้ทำการผลิตขาดหลักประกันที่จำเป็นในการดำรงชีวิตที่ผู้ใช้แรงงานในระบบได้รับ ไม่ว่าจะเป็น กรณี การเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน

6. เข้าไม่ถึงทรัพยากรและการสนับสนุนจากรัฐ จึงเป็นเหตุให้ขาดโอกาสในการพัฒนาทักษะฝีมือ การใช้กองทุนหมุนเวียน รวมทั้งการได้รับบริการด้านสาธารณสุขที่เหมาะสม

7. ไม่มีองค์กร ไม่มีตัวแทน ไม่มีอำนาจต่อรอง ลักษณะการทำงานของแรงงานนอกระบบ มักจะกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปจึงขาดการรวมกลุ่ม หรือแม้จะมีการรวมกลุ่มก็เป็นกลุ่มขนาดเล็ก ประกอบกับการไม่เข้าใจในเรื่องสิทธิของตนเองในฐานะแรงงาน จึงไม่มีอำนาจในการต่อรองทั้งกับนายจ้าง หรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง

8. มีปัญหาสุขภาพและสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งมีความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่ปลอดภัย จึงทำให้ แรงงานนอกระบบส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับปัญหาด้านสุขภาพ และความเสี่ยงจากอุบัติเหตุในการทำงาน
*