ช่วยกันเพิ่มช่องทาง ข้อมูล ข่าวสาร-สาระความรู้ ให้กับพี่น้องชาวแรงงานนอกระบบ
"รู้ลึก รู้ทัน รู้จริง รู้ก่อน...ไม่โดนเขาหลอกให้ช้ำใจ"
"รอโหลดซักกะเดี๋ยว..ตะเอง"


. . . สวัสดีครับ . . .
ยินดีต้อนรับทุกๆท่าน . . . Welcome to . . .
. . . แ ร ง ง า น น อ ก ร ะ บ บ . . . ร่วมด้วยช่วยกัน . . . ขอขอบพระคุณเจ้าของclipภาพถ่ายและบทความทุกๆท่านที่กรุณาเอื้อเฟื้อแบ่งปัน . . .น้ำใจซื้อขายไม่ได้ แต่น้ำใจให้กันได้...อิอิ

@ ปู้นนน...!!! คนเมืองใต้เจียงใหม่ของหมู่เฮาลงไปตางปู๊นนน..... @ 2กุมภา..กาเบอร์ 15 ทั้ง ส.ส.เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย


PlayListนี้ เริ่มต้นด้วย "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน" เรียงลำดับตั้งแต่ ตอนแรก ถึง ตอนปัจจุบัน ..ท้ายเพลย์ลิสท์เป็นคลิป "เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญ : จะทำอย่างไร?" วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล (สยามซิตี้เดิม) คลิปนี้..วิทยากร รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นเริ่มนาที 0:14:24
คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...
หรือคลิกที่นี่.. @ AsiaUpdate "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน"

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

12... เอ้าเฮ้!!! พวกเราเตรียมตัวกินไข่มาร์ค โล50-53 เริ่ม1ก.พ.54


เอ้าเฮ้!!! พวกเราเตรียมตัวกินไข่มาร์ค โล50-53 เริ่ม1ก.พ54

By: rajdumnern.net , Mthai News

ราคาขายไข่ไก่กิโลกรัมละ 50-53 บาท ชี้ช่วยประชาชนลดรายจ่าย 2-3 บาท พร้อมแก้ปัญหาถูกโกงเบอร์ไข่ หลังขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าควบคุม

19ม.ค.54 รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 18 ม.ค.หลังจากนางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) มีมติให้นำสินค้าไข่ไก่ และบริการรับฝากและเช่าสินค้า เช่น คลังสินค้า เพิ่มเข้าในบัญชีสินค้าและบริการควบคุม ส่งผลให้รายการบัญชีสินค้าและบริการควบคุมเพิ่มจาก 39 ราย เป็น 41 รายการ เพื่อติดตามการดูแลราคาสินค้าให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นนั้น

ต่อมา เมื่อวันที่ 19 ม.ค. นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายในกล่าวว่า ที่ประชุมหารือแนวทางการจำหน่ายไข่ไก่เป็นกิโลกรัม ร่วมกับทางสมาคมผู้ค้าไข่ไก่ ชมรมผู้เลี้ยงไก่ไข่มีมติเริ่มทดลองจำหน่ายไข่ไก่เป็นกิโลกรัมในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยเฉพาะตามตลาดสด อาทิ ตลาดยิ่งเจริญ ตลาดมีนบุรี ตลาดรังสิต

ทั้งนี้ ร้านค้าจำหน่ายไข่ไก่ในตลาดสดจะขายไข่ไก่ใน 2 ทางเลือก ทั้ง จำหน่ายแบบแยกเบอร์ และจำหน่ายแบบเป็นกิโลกรัม โดย 1 กิโลกรัมขนาดไข่ไก่เบอร์ 2 จะอยู่ที่ประมาณ 16 ฟอง และไข่ไก่เบอร์ 3 จะอยู่ที่ประมาณ 16-17 ฟอง

สำหรับรูปแบบนี้จะมีเริ่มทดลองตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2554 นี้เป็นต้นไป เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคในการพิจารณาและจะใช้เวลาทดลองประมาณ 3 เดือน ก่อนจะกลับมาทบทวนว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ต่อไป

โดยการกำหนดขายไข่ไก่เป็นกิโลกรัม ซึ่ง 1 กิโลกรัมได้มีการคิดคำนวณถึงต้นทุน ขณะที่ราคาขายไข่ไก่หน้าฟาร์มคละจะอยู่ที่ ประมาณ 45 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อนำมาขายปลีกให้กับประชาชนจะเฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัม 50-53 บาท และการจำหน่ายไข่เป็นกิโลกรัมจะมีราคาถูกลงฟองละ 10-20 สตางค์ ทำให้ผู้บริโภคประหยัดค่าใช้จ่าย 2-3 บาทต่อ 1 กิโลกรัม

นอกจากนี้ ยังช่วยให้ประชาชนไม่ถูกโกงเบอร์ไข่อีกต่อไป โดยหากโครงการนี้ได้รับการตอบรับดีก็จะเร่งกระจายไปยังตลาดสด ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาครวมทั้งห้างสรรพสินค้าต่างๆ ทั่วประเทศต่อไป


นานา comment:

crystral: ไข่ซีพีเบอร์1 เล็กกว่าไข่เบอร์3 ร้านทั่วไป

delapax: ถ้ากำหนดให้สามารถขายได้ทั้ง 2 แบบ ผมว่าในที่สุดแบบขายเป็นกิโลจะไม่สามารถใช้ได้จริง เพราะมันไม่สะดวกตอนที่ขายแบบย่อยๆให้กับ End user จริงๆ

นี่คือผลงานความคิดของรัฐบาล ปชป. ที่ไม่ได้ลอกคนอื่น แต่เป็นความคิดแบบผู้ดีที่ไม่เคยเดินซื้อของในตลาด ไม่เคยได้คลุกคลีกับวิถีชีวิตจริงๆของประชาชน

meditation: เฮ้ย...เอาจริงรึเนียะ ชั่งไข่ขาย!

ก็ดีเหมือนกันเนอะ...จะได้พิสูจน์ให้เห็นกับตาประชาชน

ว่าใครจะได้ประโยชน์ กับการชั่งไข่ขาย

ประชาชนผู้บริโภค และ ผู้ขาย หรือ นายทุนผลิตไข่!

ที่สำคัญ!...เป็นการพิสูจน์ "ปัญญา วิสัยทัศน์" การแก้ปัญหาของรัฐบาลชุดนี้

แปลกมั๊ย...เหตุใดไม่มีนายทุน ออกมาแสดงความคิดเห็นกับการชั่งไข่ขาย หรือว่าเราตกข่าว...ใครมีข้อมูลช่วยสงเคราะห์ด้วย

ตะขบดอง: เอาง่ายๆเลยนะ กองไข่ไว้ขาย คนก็จะเลือกแต่ฟองใหญ่ๆ เลือกไข่มากไข่แตกเสียหาย เหลือแต่ลูกเล็กๆไม่มีใครอยากได้ ขาดทุนไหม???

meditation: คนขายอาจไม่ขาดทุน...เพราะคนขายต้องบวกราคาเผื่อแตก ประชาชนต่างหากที่จะต้องแบกรับภาระนี้...และอาจจะต้องเจอปัญหา ซื้อมาแล้วไข่เน่า(ไข่ลูกเล็กมันขายไม่ออก ทำให้เก็บไว้นาน)...ตอกไข่ใส่ชาม 2 ลูก ลูกที่ 3 เจอไข่เน่า...ฮา ฮา...สุดท้ายต้องเททิ้งทั้งชาม!

มะนาว: หึหึ มันเอากฎหมายมาบังคับใช้

บุรุษหน้าเหล็ก: เอาสั้นๆครับ

การแบ่งระดับชั้นคุณภาพของไข่ไก่ ตามมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ มกอช.6703-2548

ถ้าแบ่งมาตรฐาน ตาม ขนาดและน้ำหนัก ออกเป็น 7 ขนาด คือ

ถ้าไม่นับไข่ไก่ซุปเปอร์จัมโบ้ อาจเป็นไข่ไก่ขนาดใหญ่พิเศษ หรือ ไข่แฝด ที่รูปทรงเกินขนาด ไม่สามารถบรรจุลงแผงได้

ไข่ไก่เบอร์ 0 ไข่ยักษ์ (jumbo) น้ำหนักขั้นต่ำต่อฟอง 70 กรัมขึ้นไป น้ำหนักขั้นต่ำต่อโหล 840 กรัม

ไข่ไก่เบอร์ 1 ไข่ใหญ่พิเศษ (Extra large)น้ำหนักขั้นต่ำต่อฟอง 65-69 กรัม น้ำหนักขั้นต่ำต่อโหล 780 กรัม

ไข่ไก่เบอร์ 2 ไข่ใหญ่ (Large) น้ำหนักขั้นต่ำต่อฟอง 60-64 กรัม น้ำหนักขั้นต่ำต่อโหล 720 กรัม

ไข่ไก่เบอร์ 3 ไข่กลาง (Medium) น้ำหนักขั้นต่ำต่อฟอง 55-59 กรัม น้ำหนักขั้นต่ำต่อโหล 660 กรัม

ไข่ไก่เบอร์ 4 ไข่เล็ก (Small) น้ำหนักขั้นต่ำต่อฟอง 50-54 กรัม น้ำหนักขั้นต่ำต่อโหล 600 กรัม

ไข่ไก่เบอร์ 5 ไข่จิ๋ว (Pewee) น้ำหนักขั้นต่ำต่อฟอง 45-49 กรัม น้ำหนักขั้นต่ำต่อโหล 540 กรัม

ลองเปรียบเทียบราคาไข่ขายเป็นแผงกับราคาขายเป็นกิโลกรัมเอาเองครับ ถ้าไม่ติดเรื่องความยุ่งยากและล่าช้าในการขาย

ป่านนี้พ่อค้าแม่ค้าขายไข่โดดฮุบเหยื่อไปแล้วครับ เพราะ กำไรเห็นว่าเพิ่มเหนาะๆหลายสตางค์

ณ.จังงัง: ผมว่าไข่เบอร์0 คงจะหายไปจากตลาดนัดและตลาดสดนี่หล่ะครับ ไม่แน่เบอร์1 เบอร์ 2 ก็อาจหายไปด้วย เพราะขนาดดูด้วยตาไม่ต่างกันเท่าไหร่ แล้วมันหายไปไหนหล่ะ

อ๋อ...ก็อยู่แต่ในห้างไงครับ อยากกินไข่ใหญ่ก็ไปซื้อในห้างเท่านั้น ก็รู้ๆกันน่ะครับ เจ้าของฟาร์มผลิตไข่ผลิตเนื้อไก่สด ใครเป็นเจ้าของ ถ้าไม่ใช่ ซีพี

ถ้าเจ้าใหญ่ทำแล้วได้ราคา เจ้าเล็กที่มีส่วนแบ่งบ้างเล็กๆน้อย มีหรือจะไม่ทำตาม

ลองมาดูกันครับว่าจริงไหม

แดงโคตร: ประมาณว่าไข่ไก่เบอร์1 1kg มี 13 ฟอง กิโลละ 50 บาท ตกฟองละ 3.84 บาท แผงนึงมี 30 ฟองเท่ากับ 115.20 บาท แล้วมันถูกลงตรงไหนหว่า

ผมประมาณจากข้อมูลตามข่าวนะครับ อ้อ...ไข่ไก่เบอร์1 ตอนนี้ขายแผงละประมาณ90-95บาทมังครับ

เซลกิ: นโยบาย อภิสิด ดูเหมือนจะเยอะแยะจับฉ่ายไปหมด ดูแล้วลายตา แต่ทำไมมันไม่โดนใจประชาชนเต็มๆ แม้เพียงนโยบายเดียว หรือเพราะมันมั่ว เละเทะไปหมด สุดท้ายก็หายเงียบไป เพราะมันไม่โดน อิอิ...

kohka55: จ้างฝรั่ง 69 ล้านบาทมาคิดนโยบายประชาวิวัฒน์ ได้นโยบายขายไข่เป็นกิโลเนี่ยะนะ...

คุณนายท้ายซอย: ไปจ่ายตลาดมา แม่ค้าร่ำร้อง อ้อนวอน วิงวอน ขอร้อง กราบเรียนเชิญ...เชิญ พณฯ ท่านนายก หัวไข่ ไปเดินตลาด สักวัน เพื่อจะได้ตอบข้อสงสัย และข้อกังขาให้กับแม่ค้า และประชาชนทั่วไป ด้วยตัวท่านเอง

นอกจากจะได้ยินเสียงสรรเสริญควรถึงความ สะเล่อ เสือก เรื่องของการขายไข่เป็นกิโลแล้ว ท่านยังจะได้ฟังความคิดเห็นของแม่ค้าโดยตรง อีกด้วย กล้าๆหน่อย...

สิงห์สยาม: ปญอ.จริงๆ ทำให้ไข่ถูกลง 5-10 ส.ต.ต่อลูก ต้องกินวันนึง 10-20 ลูกถึงจะลดค่าครองชีพไปได้บาทนึง ไปทำอย่างที่เคยพูดไว้ตอนหาเสียงดีกว่า เลิกเก็บเงินกองทุนน้ำมันหนะ...พอได้เป็นไม่ใช่แค่ไม่เลิกเก็บอย่างเดียว แถมยังเก็บเพิ่มขึ้นอีกด้วย









คลิกซ้ายที่นี่...
022 ภาพกิจกรรมคนเสื้อแดง จากแยกราชประสงค์ ไปถนนราชดำเนิน 23-01-2011
50> จากราชประสงค์ไปถนนราชดำเนิน 23-01-2011
020 ภาพกิจกรรมคนเสื้อแดง จากถนนราชดำเนินไปแยกราชประสงค์ 09-01-2011

11... ฟันธง! ประกันแรงงานนอกระบบ ไม่โดนใจ ของขวัญที่คนจนไม่อยากได้...รัฐคิดแบบบริษัทประกัน



ฟันธง! ประกันแรงงานนอกระบบ ไม่โดนใจ ของขวัญที่คนจนไม่อยากได้...รัฐคิดแบบบริษัทประกัน

มติชนออนไลน์


19 มกราคม 2554 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย จัดงานราชดำเนินเสวนา ภายใต้โครงการร่วมปฏิรูปประเทศไทย ครั้งที่ 1 /2554 เรื่อง “ประกันแรงงานนอกระบบ ช่วยเหลือหรือเพิ่มภาระคนจน” ณ ห้องประชุมอิศรา อมันตกุล ชั้น 3 สมาคมนักข่าวฯ

โดยมี รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ กรรมการปฏิรูป และกรรมการสมัชชาปฏิรูป ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการเกษตร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) นางมณี สุขสมัย ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการประกันสังคม (สปส.) ตามมาตรา 40 และนางสุจิน รุ่งสว่าง เครือข่ายแรงงานนอกระบบ ร่วมเสวนา

นางมณี กล่าวถึงความคืบหน้าการประกันตนของแรงงานนอกระบบว่า คณะรัฐมนตรีได้ลงมติเห็นชอบในส่วนของร่างกฤษฏีกาเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งจะส่งให้คณะกฤษฏีกาพิจารณาต่อไป โดยประกันสังคมเตรียมประสานงานกับอำเภอ ตำบล เครือข่ายแรงงานนอกระบบ ธนาคาร ไปรษณีย์ และศูนย์บริการต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน

ด้านรายละเอียดของ การประกันตนแรงงานนอกระบบนั้น นางมณี กล่าวว่า ในกรณีเจ็บป่วย สิทธิประโยชน์จะเกิดเมื่อนำส่งเงิน 3 ใน 4 เดือน และจะได้รับเงินทดแทนเมื่อขาดรายได้วันละ 200 บาท ต่อเมื่อพักรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลา 2 วัน โดยใน 1 ปีใช้สิทธิ์ได้ไม่เกิน 20 วัน

ส่วนกรณีทุพพลภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการประกันสังคมฯ กล่าวว่า สามารถรับเงินชดเชยเป็นเวลา 15 ปี โดยแยกประเภทตามวันเวลาที่ผู้ประกันตนนำส่งเงินสมทบ คือ หากนำส่ง 6 ใน 10 เดือนจะได้รับชดเชยเดือนละ 500 บาท, 12 ใน 20 เดือนจะได้รับชดเชยเดือนละ 650 บาท, 24 เดือนใน 40 จะได้รับชดเชยเดือนละ 800 บาท และ 36 ใน 60 เดือน จะได้รับชดเชยเดือนละ 1,000 บาท สำหรับกรณีเสียชีวิตนั้นจะได้รับเงินชดเชย 2 หมื่นบาท หากผู้ประกันตนนำส่งเงิน 6 ใน 12 เดือนตามกำหนด

ในขณะที่ บำเหน็จชราภาพ นางมณี กล่าวว่า จะได้รับเมื่ออายุ 60 ปี สำนักงานประกันสังคมจะคิดจากเงิน 50 บาทที่ภาครัฐสมทบให้ ตั้งแต่เดือนแรกจนถึงเดือนสุดท้าย พร้อมดอกเบี้ยที่คิดอัตราตามรายปี ซึ่งเงินที่รัฐบาลจ่ายให้ในช่วงแรกนี้เป็นเพียงแค่ เงินอุดหนุนพิเศษ ซึ่งทางประกันสังคมเตรียมผลักดันให้แก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งจะกำหนดให้รัฐจ่ายเงินสมทบร่วมด้วยไม่เกินกึ่งหนึ่งของเงินที่ผู้ประกัน ตนต้องเสีย

ของขวัญ..ไม่โดนใจแรงงานนอกระบบ

ด้านนางสุจิน กล่าวว่า แบบประกันตนแรงงานนอกระบบ ในนโยบายประชาวิวัฒน์ทั้ง 2 ลักษณะที่รัฐบาลเสนอมานั้นยังไม่ตรงความต้องการของแรงงานนอกระบบมากนัก โดยเฉพาะสิทธิประโยชน์เมื่อชราภาพ ซึ่งแรงงานส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 30-40 ปีขึ้นไป ทำให้การออมเงินเข้ากองทุนมีระยะเวลาน้อย ภาครัฐอาจช่วยขยายเวลาในการออมได้ ในขณะที่ กองทุนเงินออมแห่งชาติ(กอช.) ผู้ประกันตนขอรับสิทธิ์ได้ หากเลือกไม่รับบำเหน็จในประกันสังคม ซึ่งต้องเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายจากเดิมที่เสีย 70 บาท ก็ต้องนำเข้า กอช. อีก 100 บาท

นางสุจิน กล่าวถึงความต้องการของกลุ่มแรงงานนอกระบบ ว่า รัฐบาลต้องมีกลไกลเชื่อมร้อยกันระหว่างกองทุนเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับ ประชาชนในการที่จะนำส่งเงินสมทบกองทุน หรือให้สำนักงานประกันสังคมเปิดรับสมาชิกรายกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มของแรงงานนอกระบบบริหารจัดการกันเอง ซึ่งจะมีประสิทธิภาพได้ดีกว่ารายบุคคล

ฟันธง แรงงานนอกระบบเข้าน้อยเช่นเดิม

ส่วน ดร.วิโรจน์ กล่าวว่า ประกันสังคมภายใต้ประชาวิวัฒน์ ไม่ต่างจากประกันสังคมตามมาตรา 40 ซึ่งสามารถฟันธงได้เลยว่า จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการจะน้อยเช่นเดิม เพราะแนวคิดในการมองปัญหาของรัฐบาล ยังติดอยู่กับกรอบวิธีคิด 2 เรื่องคือ 1. กลัวว่าจะเป็นภาระทางการคลังให้กับรัฐบาลในระยะยาว ทั้งที่ปัจจุบัน รัฐบาลจ่ายสมทบให้แก่แรงงานในระบบ 2.75% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าจ่ายให้แรงงานนอกระบบหลายเท่าตัว และ 2. พ.ร.บ. ที่รัฐบาลกำลังจะแก้ไขได้มีการล็อกเอาไว้ว่า รัฐบาลจะจ่ายสมทบไม่เกินกึ่งหนึ่งของที่ผู้ประกันตนจ่าย เมื่อรัฐบาลเอาไอเดียนี้มาใช้กับ ม.39 และม.40 ทำให้ลูกจ้างที่ไม่มีนายจ้างรับภาระเองทั้งหมด ถ้ามองในแง่ความทั่วถึงและความเป็นธรรม แนวคิดของรัฐบาลจะต้องกลับกัน คนที่จนกว่ารัฐบาลจะต้องอุดหนุนมากกว่า

“สิ่งที่รัฐบาลเสนอขณะนี้ จิ๊บจ๊อยมาก รัฐบาลควรอุดหนุนไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของแพ็คเกจพื้นฐานด้วยซ้ำ เช่น แพ็คเกจพื้นฐานมี 100 รัฐบาลควรจ่ายครึ่งหนึ่ง เพราะจะมีผลต่อจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ อีกทั้งจากการศึกษากลุ่มตัวอย่างกว่า 3,000 คน ในจังหวัดกรุงเทพฯ ชลบุรีและระยอง ซึ่งเป็นแรงงานนอกระบบ โดยรวมพบว่า 100 บาทแรงงานสามารถจ่ายได้ แต่ถ้าเป้าหมายของรัฐบาลคือการสร้างหลักประกันสังคมที่ครอบคลุมจะต้องเก็บ น้อยกว่านี้ เช่น เรียกเก็บ 50 บาท รัฐบาลจ่ายสมทบอีก 50 บาท และมีแพ็กเก็จให้เลือกมากกว่า”

ดร.วิโรจน์ กล่าวถึงเรื่องสิทธิประโยชน์ในเรื่องบำเหน็จว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่มองว่า คนส่วนใหญ่ต้องการเงินก้อน แต่ผลการศึกษา พบว่า ประมาณ 4:1 ที่อยากได้บำนาญมากกว่าบำเหน็จ เนื่องจากเงินก้อนอาจอยู่ได้ไม่นาน แต่สิ่งที่รัฐบาลเสนอ คือพยายามคิดแบบบริษัทประกัน ทำให้ทุกอย่างให้จบ จะได้ไม่มีภาระในระยะยาว

“หากบริษัท ประกันคิดเช่นนี้คงไม่ใช่เรื่องแปลก แต่รัฐบาลนั้น แม้ว่าผู้สูงอายุจะรับเงินไปแล้ว รัฐบาลก็ปฏิเสธที่จะไม่ไปดูแลไม่ได้ ฉะนั้นรัฐบาลต้องเสนอแพ็คเกจที่จะสามารถแก้ปัญหาคนจำนวนมาก ซึ่งไม่สามารถ พึ่งพาครอบครัวตนเองได้ โดยเลิกคิดว่าจะใช้เงินกับคนกลุ่มนี้ให้น้อยที่สุด แต่ได้คะแนนเสียงมากที่สุด”

ก่อนเอาใจแรงงานนอกระบบต้องกำหนดทิศให้ชัด

ขณะ ที่รศ.ดร.ณรงค์ กล่าวการทำนโยบายเรื่องแรงงานนอกระบบ จะต้องเริ่มต้นด้วยการกำหนดทิศทางให้ชัดเจนก่อน ถึงจะสามารถลงรายละเอียดว่าจะทำอย่างไร เพราะหากเรากำหนดทิศทางผิดพลาด ก็จะเดินไปบนเส้นทางที่ผิดพลาด และไปไม่ถึงเป้าหมาย ซึ่งการสร้างทิศทาง แนวคิด และวิสัยทัศน์จะต้องมาก่อน

“หากมองเชิงระบบ รัฐบาลจะต้องคำนึงนิยามของแรงงานนอกระบบก่อน ซึ่งก็หมายถึง กลุ่มคนอายุตั้งแต่ 15-60 ปีที่ทำงานได้และมีเวลาที่จะทำงาน มี 3 กลุ่ม คือเกษตรกร รับงานไปทำที่บ้าน และแท็กซี่ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง หาบเร่แผงลอย รวมแล้วมีอยู่ประมาณ 38 ล้านคน”

ดร.ณรงค์ กล่าวอีกว่า ส่วนแรงงานนอกระบบ ในภาคเกษตร 15 ล้านคน แบ่งเป็นแรงงานเกษตรรับจ้าง 3 ล้านคน เกษตรกร 12 ล้าน คน และเกษตรกรก็แยกย่อยไปเป็นเกษตรกรอิสระ และเกษตรกรพันธะสัญญา ซึ่งเมื่อมองภาพนี้จะเห็นว่าลูกจ้างของเกษตรกรจะยากจนกว่าเกษตรกรมาก เพราะปัจจุบันเจ้าของนาไม่ได้ทำนาเองแล้ว

ดร.ณรงค์ กล่าวต่อว่า หากต้องการจะดึงแรงงานนอกระบบประกันสังคม ต้องพิจารณาก่อนว่าคนกลุ่มไหนที่ควรจะได้รับการประกันสังคมก่อน ซึ่งเห็นว่า ควรเป็น ‘ลูกจ้างเกษตร’แต่กลับไม่มีใครแตะต้องเลย รวมทั้งเกษตรกรเองก็มีกองทุนที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรไม่ต่ำกว่า 7 กองทุน ทั้งกองทุนหมูบ้าน SML และกองทุนพัฒนาที่ดิน ฯลฯ

“เราควรรู้จัก บริหารกองทุนเหล่านี้ให้เชื่อมโยงกับการประกันสังคม จะได้มีเงินสมทบภาคเกษตรกรเพิ่มขึ้น และกลับมาเป็นเงินประกันสังคมเกษตรกร เพราะหากมีการจัดการระบบเงินที่ดี จะทำให้ศักยภาพในการสมทบเพิ่มขึ้น แต่กลับไม่มีการคำนึงถึงประเด็นนี้ ด้วยเพราะต่างกระทรวงก็ต่างทำงาน ทำให้กองทุนเหล่านี้กระจัดกระจายอยู่ตามกระทรวงต่างๆ นับเป็นภาพรวมใหญ่ที่รัฐบาลไม่เคยมอง”

ส่วนด้านการประกันราคา และประกันรายได้ภาคเกษตร กรรมการสมัชชาปฏิรูป กล่าวว่า ไม่มีประโยชน์ เพราะโครงสร้างในการทำการเกษตรเปลี่ยนไป กลายเป็นเกษตรกรภายใต้ระบบตลาด จึงต้องย้อนกลับมาพิจารณาการประกันนอกระบบ ที่ไม่ใช่ปัญหานโยบายอย่างเดียว แต่เป็นปัญหาการจัดการด้วย ดังนั้นในการแก้ปัญหาประกันสังคมต้องไปแก้กฎหมายแรงงานให้สอดคล้อง เพื่อให้ประกันสังคมไปถึงเป้าหมาย

ดร.ณรงค์ กล่าวถึงความยุติธรรม ความเหลื่อมล้ำ และความสะดวกง่ายของผู้ใช้แรงงาน ระหว่างบัตรทอง กับประกันสังคม ว่า คนที่เข้าระบบประกันสังคมจะต้องจ่ายเบี้ยประกันความเจ็บป่วยให้ตัวเอง ขณะที่คนถือบัตรทองจะไม่ต้องจ่าย อีกทั้งการใช้บัตรทองก็สะดวกกว่ามาก เช่น ไม่จำกัดโรงพยาบาล อาการและโรค จึงเกิดการตั้งคำถามว่า เช่นนั้นแล้วจะมีระบบประกันสังคมไปทำไม ซึ่งเชื่อว่า กรณีกลุ่มแรงงาน กำลังเรียกร้องให้สำนักงานประกันสังคมเป็นอิสระ เพื่อให้สะดวกขึ้น และมีสิทธิ์มีเสียง มีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการบริหาร แม้จะอยู่ในระบบประกันนอกหรือในระบบก็ตาม

สำหรับทางออกของ ปัญหา ดร.ณรงค์ กล่าวว่า หากต้องการสร้างระบบสวัสดิการ ควรมีการเก็บภาษีปิโตรเลียม แร่ทองหรือแร่อื่นๆ เพิ่มขึ้น หากเก็บค่าภาคหลวงเพิ่มขึ้น 30% จากเดิม 8% จะได้จำนวนเงินกว่า 2 แสนล้านต่อปี ซึ่งสามารถนำเงินส่วนนี้มาประกันรายได้เกษตรกรได้อย่างสบาย เพราะหากรัฐจะทำการช่วยเหลือส่วนนี้จริงก็ไม่ควรคำนึงว่าจะมีเงินไม่พอจ่าย แต่ต้องกล้าหาญที่จะหารายได้ด้วย

“สิ่งที่รัฐควรทำกลับไม่ได้ทำ รัฐต้องพิจารณาว่าปัญหาหลักมาจากไหน แล้วแก้ที่ต้นเหตุไม่ใช่แก้ที่อาการ เช่นในปัญหาวินมอเตอร์ไซค์ หากแก้ปัญหาส่วยได้ ก็ไม่ต้องทำอะไรแล้ว เขาสามารถที่จะขับรถและผ่อนส่งโดยปกติได้ เหมือนกับเวลาที่ปวดหัว ต้องพิจารณาว่า เกิดจากเนื้องอกในสมอง ไมเกรน หรือสายตาเอียง ไม่ใช่แก้โดยกินแต่ยาแก้ปวด ที่หายได้เพียงชั่วคราว แต่ที่สุดแล้วหลักการของรัฐก็เลือกที่ทำได้ง่าย และได้เสียง








วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

10... 'ประกันสังคมใต้ร่มประชาวิวัฒน์' โดนใจแรงงานนอกระบบ..?


'ประกันสังคมใต้ร่มประชาวิวัฒน์' โดนใจแรงงานนอกระบบ..?

เขียนโดย ณัฏฐพัชร์ ทัศนรุ่งเรือง


โครงสร้างทางเศรษฐกิจทั้งของไทยและของโลก เปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมาก ลักษณะการทำงานก็นับว่า เปลี่ยนแปลงไปเช่นเดียวกัน ใช่มีแต่ “แรงงานในระบบ” ตามนิยามเดิมเท่านั้น

มี “แรงงานในระบบ” และ “แรงงานนอกระบบ” มี “ผู้ประกอบการอิสระ” กับ “แรงงานอิสระ” ที่นับวัน เส้นแบ่งยิ่งขีดได้ยากมากยิ่งขึ้น

นี่ยังไม่นับรวม แรงงานข้ามชาติ

แม้แต่ผู้ที่คลุกคลี ได้เห็นการต่อสู้ของผู้ใช้แรงงาน มาตลอดชีวิต อย่าง รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ กรรมการปฏิรูป และกรรมการสมัชชาปฏิรูป มองถึงเส้นแบ่งดังกล่าว ที่นอกจากจะขีดยากยิ่งแล้ว คนในสังคมไทยยังไม่เข้าใจ หรือ แม้แต่คนจบมหาวิทยาลัยแล้ว ก็ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า “แรงงาน กำลังแรงงาน คนงาน” คือ อะไร

“เอาแค่แรงงานในระบบและนอกระบบ ยังจำแนกกันไม่ได้ แถมคนส่วนใหญ่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่า แรงงานนอกระบบกลุ่มใหญ่ที่สุดนั้น คือ เกษตรกร”

ยิ่งในเมื่อประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมการค้าและอุตสาหกรรมเต็มตัว ในระดับสากลยกให้ไทย เป็นประเทศอุตสาหกรรมระดับกลาง ณ วันนี้ คนส่วนใหญ่ คือ ลูกจ้าง คือ ผู้ใช้แรงงานนอกภาคเกษตร ไม่ใช่ภาคเกษตร อีกต่อไป

เมื่อมาดูการจัดระบบสวัสดิการ และสร้างสถาบันเพื่อคุ้มครองทางสังคมให้แก่กลุ่มผู้ใช้แรงงานไทย ที่ถูกกำหนดโดยบริบทของระบบเศรษฐกิจ กลับไม่สอดคล้อง และเท่าทันต่อสถานการณ์แรงงานเสียแล้ว เห็นได้จาก ประเทศไทยมีกำลังแรงงานกว่า 36 ล้านคน แต่อยู่ในระบบประกันสังคมเพียง 9 ล้านกว่าคนเท่านั้น

แม้ระบบประกันสังคม ที่ดำเนินการมากว่า 20 ปี ได้สร้างคุณูปการหลายประการ ทั้งการขยายสิทธิประโยชน์ให้มากขึ้นในกลุ่มแรงงานในระบบ จาก 4 กรณี เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต ต่อมาขยายสิทธิเป็น 7 กรณี เพิ่มสงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน

รวมถึงขยายสิทธิต่อเนื่อง รักษาพยาบาลผู้ประกันตนที่ป่วยเป็นโรคจิตโดยไม่มีเงื่อนไข แต่ก็ยังมีประเด็นที่เป็นช่องว่างทำให้ผู้ประกันตนต้องประสบปัญหาอยู่หลายประการ


หรือแม้กระทั่ง ล่าสุด ปฏิบัติการเร่งด่วน ในแผนประชาวิวัฒน์ ของรัฐบาลอภิสิทธิ์ ที่ประกาศออกมาแล้วว่า จะปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้ประชาชนที่อยู่นอกระบบประกันสังคม เข้าสู่ประกันสังคมไทยได้ ทำควบคู่กับกองทุนเงินออมแห่งชาติ (กอช.) สร้างวินัยในการออม ช่วยเหลือเกื้อกูล ในรูปแบบ...เฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข

อาจถือได้ว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่กำลังจะทำให้ประชาชนจำนวนมาก สามารถเข้ามาสู่ระบบประกันสังคมได้ ซึ่งในงานสมัชชาแรงงาน 2554 ที่เพิ่งจัดผ่านพ้นไป นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ส่งสัญญาณอีกครั้งว่า จากนี้ไประบบของการดูแลความเป็นอยู่ ความมั่นคง และสวัสดิการ กลุ่มแรงงานนอกระบบ ต้องได้รับการดูแล และเข้าสู่ระบบ ได้รับความคุ้มครองในระบบสวัสดิการ

เหนือสิ่งอื่นใด ที่นายกรัฐมนตรี ร้องขอ คือ ให้มีการปรับแนวความคิด การมองเรื่องค่าจ้าง หรือสวัสดิการแรงงาน ไม่ใช่เป็นเรื่องของ “ต้นทุน” แต่ให้ปรับมุมมองเป็น “การลงทุน” ด้านคุณภาพแรงงาน เพื่อให้แรงงานมีหลักประกันความมั่นคง มีแรงจูงใจในการเป็นกำลังการผลิตที่มีประสิทธิภาพของเศรษฐกิจไทย

แรงงานนอกระบบกับความยั่งยืนของกองทุน

“ประชาวิวัฒน์” ด้านแรงงานนอกระบบ ปรากฏชื่อนักวิชาการที่ทำเรื่องแรงงานอีกท่านที่ได้เข้าไปรับ 5 โจทย์ใหญ่มา คือ

1.จะลดรายจ่ายให้แรงงานนอกระบบอย่างไร

2.เพิ่มรายได้อย่างไร

3.จะปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้นได้อย่างไร

4.ทำให้แรงงานนอกระบบ เข้าสู่ระบบประกันสังคมได้อย่างไร

และ 5.ทำให้แรงงานนอกระบบเข้าถึงสินเชื่อธนาคารของรัฐ

ระยะเวลาการทำงาน กับโจทย์ 5 ข้อ 5 สัปดาห์ ก่อนเริ่มปฏิบัติการจริง 18 มกราคมนี้ รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ ผู้อำนวยการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธรรมาภิบาล มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม ในฐานะประธานทำงานเรื่องแรงงานนอกระบบ ในแผนปฏิบัติการประชาวิวัฒน์ เริ่มต้นยกเครดิต เรื่องแรงงานนอกระบบ ให้กับรัฐบาลหลายรัฐบาล ที่พยายามทำแต่ไม่สำเร็จ จนมาสำเร็จในรัฐบาลชุดนี้

ก่อนนโยบายประชาวิวัฒน์ จะเปิดโอกาสให้มีระบบการออมและสวัสดิการทางเลือก และเคาะออกมานั้น รศ.ดร.สังศิต เล่าว่า ได้เชิญผู้ประกอบอาชีพที่เป็นแรงงานนอกระบบ ไม่ว่าจะเป็นพ่อค้าแม่ขาย ผู้ทำงานอิสระ คนทำงานกลางคืน ไปจนถึงคนขับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง คนขับแท็กซี่ เป็นต้น มาพูดคุย

เท่าไหร่ที่จ่ายได้ แล้วอะไร คือ ความจำเป็นจริงๆ

จากนั้นให้สำนักงานประกันสังคมคำนวณแบบนี้สู้กันไหวหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องไม่ไปกระทบต่อระบบ ซึ่งมีการคาดการณ์ไว้ว่า แรงงานนอกระบบที่จะเข้ามาปีแรกกว่า 2 ล้านคน กอรปกับระบบต้องอยู่ได้ และเมื่อมีแรงงานนอกระบบเข้ามามากขึ้น สิทธิประโยชน์ในอนาคต ก็จะมากขึ้นตามไปได้ด้วย

ประธานทำงานเรื่องแรงงานนอกระบบฯ บอกถึงความเป็นไปได้เมื่อเปิดสภาฯ ก็จะมีการแก้ไขพระราชบัญญัติ “เฉพาะหน้า” เพื่อตอบสนองความต้องการให้ได้อย่างรวดเร็ว จะมีการแก้ไขเป็นพระราชกฤษฎีกาก่อน จากนั้นจะแก้ไขเป็นกฎหมาย ทั้งนี้ทั้งนั้น กฎหมายที่รัฐบาลจะทำนั้นมี 2 ฉบับ คือ แก้ไขพ.ร.บ.ประกันสังคมฯ อีกฉบับประมาณเดือนกุมภาพันธ์ คือกฎหมายเงินออมแห่งชาติ ที่ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของรัฐสภา เสร็จขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมาธิการแล้ว

“ในระบบประกันสังคม หากแรงงานนอกระบบสมทบ 100 บาทต่อเดือน รัฐบาลออกให้ 50 บาท เมื่ออายุ 60 ปีจะได้รับเงินบำเหน็จก้อนหนึ่ง ซึ่งเป็นจาก 50 บาทที่รัฐสมทบให้ ขณะที่ในกองทุนเงินออมแห่งชาตินั้น หากสมทบ 100 บาทต่อเดือน รัฐบาลสมทบให้อีก 100 บาท เมื่ออายุ 60 ปีก็จะได้เงินเป็นรายเดือน” รศ.ดร.สังศิต ขยายความเพิ่มเติมอีกว่า หากแรงงานนอกระบบ ออมเดือนละ 200 บาท แยกไว้ในประกันสังคม 100 บาท และในกองทุนเงินออมฯ อีก 100 บาท เมื่ออายุ 60 ปี ก็จะได้ทั้งเงินบำเหน็จและบำนาญ


เกิดคำถาม แรงงานนอกระบบมาใช้เงินกองทุน

ในมุมมอง คณะกรรมการประกันสังคมฝ่ายนายจ้าง “ประสิทธิ์ จงอัศญากุล” สะท้อนให้เห็นถึงระบบประกันสังคมของไทยที่หากเอาไปเทียบกับต่างประเทศ จะไม่เรียกว่า ประกันสังคม เพราะในความหมายประกันสังคม รัฐต้องดูแลคนทั้งชาติ

“ผมเห็นด้วย รัฐต้องดูแลคนในชาติ รัฐต้องดูแลแรงงานข้ามชาติที่มาจากประเทศอื่น ให้เหมือนกับคนในชาติ เพราะมาสร้างประโยชน์ให้กับประเทศเรา” แต่มีสิ่งที่ ตัวแทนคณะกรรมการประกันสังคมฝ่ายนายจ้าง แสดงความเป็นห่วง คือ แรงงานในระบบที่สะสมเงินมาตั้งแต่ต้น จะเกิดคำถาม การนำเงินไปแจกจ่ายตามนโยบาย

เขาอธิบายเพิ่มเติมว่า ตั้งแต่ออกฎหมายประกันสังคม ปี 2533 น่าจะเรียกว่า “กองทุนของผู้ทำงานที่มีนายจ้างประจำ” มีสำนักงานดูแลกองทุน จำนวนเงิน 7-8 แสนล้านบาทในกองทุนประกันสังคม ซึ่งเงินเหล่านี้เป็นของผู้ใช้แรงงานที่มีนายจ้างประจำได้มีการสมทบกันมาถึงวันนี้ เพื่อใช้ในวัยเกษียณ ยามชราภาพ ขณะที่เงินในกองทุน 2-3 หมื่นล้านใช้ไปในเรื่องการรักษาพยาบาล

“การที่รัฐจะรับแรงงานนอกระบบเข้ามาในระบบประกันสังคม เพื่อต้องการสร้างสวัสดิการของคนในชาติให้เสมอภาคกันตามนโยบายนั้นจะต้องเดินให้ถูกทาง เพื่อให้ประสบความสำเร็จ เช่น ตั้งกองทุนลักษณะนี้ให้กับคนในสาขาอื่นๆ เหมือน สปสช. กองทุนชุมชน เป็นต้น”

ประกันสังคมภายใต้ประชาวิวัฒน์ ยังไม่โดนใจ

“มาตรา 40 ของระบบประกันสังคม สิทธิประโยชน์ คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย และการที่ต้องส่งแพงถึง 3,360 บาท แต่ได้สิทธิประโยชน์แค่ 3 อย่าง การเก็บเป็นรายปี ทั้งๆที่แรงงานนอกระบบมีรายได้ไม่แน่นอน ไม่ต่อเนื่องทำให้ไม่สามารถส่งเงินเป็นก่อนได้” เครือข่ายแรงงานนอกระบบ “สุจิน รุ่งสว่าง” เริ่มต้นให้ข้อมูล สาเหตุที่มาตรา 40 ในระบบประกันสังคมไม่ได้สร้างแรงจูงใจให้แรงงานนอกระบบ อยากเข้าไปอยู่ในระบบเลย

“สุจิน” ชี้ไปที่ “หัวใจ” ของการขับเคลื่อนของแรงงานนอกระบบที่ผ่านมา คือเรื่องบำนาญ ในระบบประกันสังคม แต่ประกันสังคมภายใต้ประชาวิวัฒน์ ที่รัฐบาลประกาศนั้น แบบที่ 1 ถ้าในกรณีที่จ่าย 70 รัฐบาลสมทบ 30 ก็จะได้สิทธิ 3 อย่าง เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต แต่ไม่มีเรื่องบำเหน็จ หรือบำนาญ

เมื่อมาดูแบบที่ 2 กรณีที่จ่าย 100 บาท รัฐบาลสมทบ 50 บาท ก็จะได้สิทธิในเรื่องของบำเหน็จชราภาพ ทั้งนี้ สุจิน บอกว่า ในระบบประกันสังคมนั้น มีบำเหน็จอยู่แล้ว ปัญหา คือ มีข้อห้ามเข้ากองทุนเงินออมฯ หมายความว่า โดนตัดสิทธิ์ตรงนี้ ขณะที่แบบที่ 1 เปิดสิทธิ์ สามารถเข้ากองทุนเงินออมฯได้

“ทั้ง 2 แบบนี้ยังไม่โดนใจแรงงานนอกระบบ อยากเห็นในมาตรา 40 มีทั้งบำเหน็จและบำนาญ”

พร้อมบอกสถิติอายุแรงงานนอกระบบ ส่วนใหญ่เป็นคนที่มีอายุก่อนวัยทอง ที่เหลือไม่วัยทองก็หลังวัยทอง อายุขนาดนี้ต้องการความมั่นคง ในชีวิตยามชราภาพ การไม่มีสวัสดิการด้านนี้ กลับกลายเป็นผลักภาระยามแก่ชราไปให้ลูกหลาน

สุดท้าย เธอเสนอว่า ควรมีกลไกการเชื่อมโยงระหว่างประกันสังคม กับกองทุนเงินออมฯ ให้ 2 กองทุนมีการเชื่อมโยงกัน โดยที่ไม่สร้างความสับสนให้กับแรงงานนอกระบบ ที่กำลังจะส่งเงินสมทบในอนาคต

ก่อนจะพูดแทนแรงงานนอกระบบกว่า 24 ล้านคน ที่อยากได้ความมั่นคงในยามชราภาพ และสามารถอยู่ในสังคมแบบไม่ต้องแบบมือขอใคร โดยขอไม่ให้ตัดสิทธิ์การออมในกองทุนเงินออมฯ หากอยู่ในกองทุนประกันสังคม...








9... ตอนที่2/2 (เสนอเป็นตอนจบ) ของขวัญ 9 กล่องจากคนที่กะล่อนที่สุดในจักรวาล


ตอนที่2/2 (เสนอเป็นตอนจบ) ของขวัญ 9 กล่องจากคนที่กะล่อนที่สุดในจักรวาล


ความจริงผมตั้งใจจะเขียนเรื่องนี้ต่อจากตอนที่ 1 เมื่อสองวันที่แล้ว แต่ดันมามีงานยุ่งเลยต้องเลื่อนมาเขียนเอาวันนี้ หวังว่ายังจะคงทันกระแสนะครับ

วันนี้ผมจะมาชวนคุยเรื่องของขวัญสัปปะรังเคชิ้นต่อไปของนายอภิสิทธิ์เกี่ยวกับก๊าซ LPG ซึ่งผมจะพยายามมองยังไง หรือฟังยังไง ผมก็ยังไม่เห็นว่ามันจะเป็นของขวัญไปได้ เนื่องจากเขาบอกว่าเขาจะยังคงตรึงราคาก๊าซ LPG ไว้ให้กับการใช้ในครัวเรือนและการขนส่ง ส่วนภาคอุตสาหกรรมนั้น เขาจะปล่อยลอยตัวตามราคาจริงของตลาด

ทั้งหมดนี่คือข่าวร้ายนะครับ อย่าหลงเพลินกับลีลากะล่อนทองคำขาวระดับหัวหน้าพรรคอย่างนายอภิสิทธิ์ ที่ผมพูดอย่างนี้ก็เพราะเหตุว่า เรากำลังจะได้พบกับต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมที่แพงขึ้นเนื่องจากการใช้พลังงานจาก LPG หลายคนอาจไม่ทราบว่า โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆโดยเฉพาะในเขตนิคมอุตสาหกรรมที่ใกล้กับโรงแยกก๊าซนั้น เขาปรับเปลี่ยนระบบการใช้พลังงานมาเป็นก๊าซ LPG กันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากนโยบายอุดหนุนราคาก๊าซ LPG ในอดีต

ดังนั้นหากโรงงานต่างๆเหล่านี้ต้องใช้ก๊าซในราคาที่สูงขึ้น ผลที่ตามมาก็อย่างที่รู้ๆกันอยู่ว่าราคาต้นทุนของสินค้านั้นย่อมจะต้องสูงขึ้นตามมาอย่างแน่นอน และถามว่าโรงงานหรือผู้ผลิตเหล่านี้เขามีทางเลือกอื่นๆที่ดีกว่ามั๊ย เราก็ต้องกลับไปมองก่อนว่า แหล่งพลังงานที่ใช้กันในการผลิตภายใต้ระบบอุตสาหกรรมนั้น มันจะมีให้เลือกก็แค่ไม่กี่อย่าง เช่น ถ่านหินซึ่งมีมลพิษสูงและยังมีต้นทุนในการติดตั้งระบบอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่สูงอีกด้วยเช่นกัน, น้ำมันเตา, น้ำมันดีเซล เป็นต้น ซึ่งแต่ละอย่างที่เราเห็นกันนี้ ล้วนมีต้นทุนสูงกว่า LPG ทั้งสิ้น

จึงค่อนข้างจะแน่ใจได้ว่า ในระบบการผลิตที่ใช้ LPG เป็นเชื้อเพลิงในปัจจุบันนี้ ก็ยังคงจะต้องใช้ LPG ต่อไปเหมือนเดิม สิ่งที่ตามมาก็คงจะเป็นอย่างที่พวกเราทราบกันดี คือราคาสินค้าต้องสูงขึ้นแน่นอน ดังนั้นเรามาเข้าใจเสียใหม่นะครับว่า นายอภิสิทธิ์ไม่ได้กำลังจะทำให้ราคาก๊าซในครัวเรือนนั้นถูกลง แต่เขากำลังจะทำให้ราคาสินค้าและบริการ รวมทั้งค่าครองชีพสูงขึ้นต่างหาก ซึ่งสุดท้ายก็จะกลายมาเป็นภาระที่ตกอยู่กับประชาชน

แต่เรื่องนี้มีคนที่ได้ประโยชน์ครับ คนที่รับประโยชน์อย่างแน่นอนก็คือรัฐบาล โดยรัฐบาลจะสามารถเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้มากขึ้นอย่างแน่นอน ทั้งจากราคาก๊าซเองและจากต้นทุนสินค้าหรือบริการที่แพงขึ้นจากการเลิกอุดหนุนราคา LPG

คำถามที่เราควรจะสงสัยกันต่อไปก็คือ ... แล้วรัฐบาลได้ภาษีเพิ่มไปเท่าไหร่

ผมมีตารางการใช้ก๊าซ LPG ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นระยะเวลาย้อนหลังไป 3 เดือนนับจากวันนี้ ลองดูที่ภาพข้างล่างนี้นะครับ


เราจะเห็นได้ว่า กลุ่มของอุตสาหกรรมที่ใช้ LPG เป็นเชื้อเพลิง เมื่อรวมกับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเองแล้ว จะมีปริมาณการใช้ทั้งสิ้นใน 1 เดือนเท่ากับ 223,110 ตัน ในโครงสร้างราคาของก๊าซ LPG นั้น จะมีส่วนที่ได้รับการอุดหนุนอยู่ 2 ส่วน คือ

1. เงินอุดหนุนที่มาจากกองทุนน้ำมัน ซึ่งอุดหนุนมาตันละ 2,530.-บาท หรือ กก.ละ 2.53 บาท

2. เงินอุดหนุนค่าขนส่งก๊าซจากซาอุดิอาระเบียมาถึงเมืองไทยอีก ตันละประมาณ 500.-บาท

ซึ่งเมื่อนำเงินอุดหนุนทั้งสองส่วนนี้มารวมกัน ก็จะเห็นว่า LPG ได้รับการอุดหนุนรวมแล้วตันละ 3,030 บาท เมื่อนำไปคูณกับปริมาณการใช้ LPG ของภาคอุตสาหกรรมซึ่งตกเดือนละ 223,110 ตัน เราก็จะได้จำนวนเงินที่ถูกยกเลิกการอุดหนุนทั้งสิ้นรวมแล้ว 676 ล้านบาทเศษ ซึ่งพูดง่ายๆก็คือ ภาคอุตสาหกรรมจะต้องจ่ายเงินซื้อ LPG แพงขึ้นอีกเดือนละ 676 ล้านบาทนั่นเอง และเมื่อต้นทุนก๊าซสูงขึ้น รัฐบาลก็จะเก็บภาษี VAT ได้เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วยอีก 7% จาก 676 ล้านบาท ซึ่งคิดคร่าวๆ ก็ตกเดือนละ 47.32 ล้าน

เฮ๊ย!! นี่มันยังกล้าพูดได้ว่าเป็นของขวัญ ทั้งๆที่เป็นการเพิ่มภาระให้กับประชาชนล้วนๆ

และผมขอฝากไว้ให้พวกเราได้ติดหูติดตากันอย่าได้ลืมนะครับว่า รัฐบาลไม่ได้ทำให้ก๊าซ LPG ถูกลง แต่ในทางตรงข้าม รัฐบาลกำลังจะทำให้สินค้าและบริการที่มีฐานการผลิตด้วยแหล่งพลังงานสะอาดอย่าง LPG นี้แพงขึ้น เป็นสาเหตุของค่าครองชีพที่สูงขึ้น เป็นสาเหตุของต้นทุนสินค้าส่งออกที่แพงขึ้นซึ่งเป็นการซ้ำเติมผู้ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นคำรบที่สอง หลังจากโดนกระหน่ำมาแล้วจากค่าเงินบาทที่แข็งตัว โอกาสทางการแข่งขันด้านราคาในตลาดโลกกำลังจะลดน้อยลงไปอีก รวมทั้งยังจะกระทบถึงอัตราเงินเฟ้ออย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก

เบื้องหลังเรื่องนี้ไม่ได้ซับซ้อนอะไรเลยครับ ปัญหามันมาจากการที่รัฐบาลต้องการที่จะรักษาระดับราคาของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วเอาไว้ไม่ให้เกินลิตรละ 30.-บาท ซึ่งหากคิดจากราคาน้ำมันดูไบในปัจจุบันนี้ รัฐบาลจะต้องใช้เงินจากกองทุนน้ำมันเข้ามาอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลประมาณเดือนละ 600–650 ล้านบาท และกองทุนน้ำมันในขณะนี้ไม่ค่อยจะเหลือเงินอยู่เท่าไหร่แล้ว มีทางเดียวที่จะยังคงรักษาราคาน้ำมันดีเซลได้ ก็โดยการยกเลิกการอุดหนุน LPG เพื่อนำเงินส่วนนี้มาอุดหนุนดีเซลแทน เท่านั้นจริงๆครับ

แต่จะด้วยความฉลาดล้ำที่ผมคิดว่าใกล้เคียงกับความตลบตะแลงก็คือการพูดให้จากไม่ดีกลายเป็นดีไปได้ ประชาชนที่ไม่รู้ก็หลงดีใจ นึกว่าซานตาคลอสลอยลงมากลางวันแสกๆ ทั้งๆที่จริงๆแล้วเป็นแค่ความตลบตะแลงของผู้ชำนาญเท่านั้นเอง และที่ต้องขอชมจริงๆก็คือ นอกจากจะพูดให้เลวกลับเป็นดีได้แล้ว การพูดครั้งนี้ยังทำให้รัฐบาลได้ภาษี VAT มากขึ้นอีกถึงเดือนละเกือบ 50 ล้านอย่างที่ผมได้เล่าให้ฟังแล้ว

นี่ครับ ... ต้องอย่างนี้ รักจะเป็นคนเลว คุณต้องเลวให้ได้ครบเครื่องอย่างนี้

ช่วงนี้ผมขอพักซักกะเดี๋ยว อีกซักครู่หลังจากผมพักผ่อนอาบน้ำอาบท่าประแป้งแล้ว ผมจะมาเล่าให้ฟังถึงเรื่องฟรีค่าไฟฟ้า 90 หน่วย ว่ามันบัดซบตลบตะแลงไม่แพ้กันเลย

* * * * *

ตอนที่2/2 (เสนอเป็นตอนจบ) ของขวัญ 9 กล่องจากคนที่กะล่อนที่สุดในจักรวาล

กระทู้นี้จะเป็นตอนจบของของขวัญจากท่านนายกฯ ซึ่งผมจะว่าด้วยเรื่องฟรีค่าไฟครับ

ก่อนที่จะเข้าไปคุยถึงเรื่องอื่น ผมขอยกตัวเลขต้นทุนการผลิตกระแสไฟฟ้ามาให้ดูกันก่อน โดย กฟผ.เขาจำแนกไว้อย่างนี้ครับ

ถ่านหินแม่เมาะ 2.07 บาท
นิวเคลียร์ 2.08 บาท
ถ่านหินนำเข้า 2.45 บาท
พลังงานความร้อนก๊าซ 2.80 บาท
ไฟฟ้าชีวมวล 3.00-3.50 บาท
พลังงานความร้อนน้ำมันเตา 5.32 บาท
และราคารับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเอกชนในเดือน กย.-ธค.2553 กฟผ.เขารับซื้อในราคาหน่วยละ 2.3159 บาท

ถ้าเราย้อนกลับขึ้นไปดูปริมาณรวมของ 9 ล้าน 1 แสนครอบครัวที่ใช้ไฟฟ้าเดือนละ 90 หน่วย (อันนี้เป็นตัวเลขของท่านนายกฯ) เราก็จะเห็นว่า ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ครัวเรือนเหล่านั้นใช้ในแต่ละเดือนรวมแล้วเท่ากับ 819 ล้านหน่วย คิดเป็นราคาต้นทุนที่สมมติว่าต่ำที่สุดคือต้นทุนจากพลังงานถ่านหิน ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของกลุ่มที่ได้รับการยกเว้นค่าไฟฟ้านี้ จะอยู่ที่เดือนละ 1,695 ล้านบาท ซึ่งเงินจำนวนนี้จะถูกผ่องถ่ายมาให้คนชั้นกลางขึ้นไปจนถึงระดับอุตสาหกรรมเป็นผู้รับภาระแทน

ผมก็สงสัยอยู่ว่า มันอะไรกันวะ

ผมไม่รังเกียจนะถ้าจะต้องจ่ายอะไรบางอย่างแพงขึ้นเพื่อช่วยเหลือคนที่ขาดแคลนในสังคมเดียวกันให้อยู่รอดได้ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าผมพร้อมที่จะถูกใช้ให้เป็นเครื่องมือหาเสียงเพื่อกลบเกลื่อนประเด็นชั่วๆทางการเมืองและคดีอาญาที่คนในรัฐบาลนี้ได้สร้างเอาไว้ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ตามผมมาดูกันว่า ไอ้ที่รัฐบาลมันอ้างว่าจะเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านนั้น มันบรรเทาได้จริงแค่ไหน

ครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าเดือนละ 90 หน่วยนั้น ถ้าคิดเป็นค่าไฟที่ต้องจ่ายให้การไฟฟ้าในแต่ละเดือน ก็จะต้องคิดด้วยอัตราก้าวหน้าตามประเภทที่ 1.1 ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน อย่างนี้ครับ

5 หน่วย (หน่วยที่ 1-5) เป็นเงิน 0.00 บาท
10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 6-15) หน่วยละ 1.3576 บาท
10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่16-25) หน่วยละ 1.5445 บาท
10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 26-35) หน่วยละ 1.7968 บาท
65 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 36-100) หน่วยละ 2.1800 บาท

ครอบครัวที่ใช้ไฟฟ้า 90 หน่วย ก็จะคำนวณค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนได้เท่ากับ 166.90 บาท เอ้า!! .. ตีซะเดือนละ 167 บาทตัวเลขกลมๆ กรุณาจำไว้นะครับว่าพี่น้องของเราจะประหยัดในส่วนของค่าไฟฟ้าไปเดือนละ 167 บาท

คำถามก็คือ ไอ้ 167 บาทนี้ มันช่วยพี่น้องของเราได้แค่ไหนฟระ และผลที่จะสะท้อนกลับมาหาประชาชนที่ได้รับการยกเว้นค่าไฟฟ้านี้ มันฟรีจริงๆหรือ

คำตอบนั้นยังไม่มีตัวเลขแบบเป๊ะๆ เพราะครม.ยังไม่ได้ประกาศอัตราค่าไฟฟ้าชุดใหม่ตามนโยบายนี้ แต่ในภาพรวมแล้ว ต้นทุนไฟฟ้าที่ยกเว้นให้กับพี่น้องจำนวน 1,695 ล้านบาทนั้นจะต้องเข้าไปเป็นต้นทุนการผลิตและบริการอย่างแน่นอน ซึ่งผู้ผลิตหรือนักอุตสาหกรรมจะไม่ได้เป็นผู้รับผลกระทบ เหตุเพราะเมื่อมีต้นทุนเพิ่มขึ้น เขาก็ต้องเพิ่มราคาสินค้าและบริการสูงขึ้นด้วยเป็นเรื่องปกติ ผู้ที่จะต้องได้รับผลกระทบโดยตรงและเต็มๆก็คือประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ คนชั้นรากหญ้าและ คนชั้นกลาง

คนชั้นกลางจะถูกกระทบในชั้นแรกโดยตรงจากค่ากระแสไฟฟ้าที่ต้องแบกภาระเพิ่มขึ้นจากนโยบายนี้ (จะเท่าไหร่ผมไม่ทราบ เพราะยังไม่มีราคาออกมา)

และผลกระทบที่เป็น After Shock ชั้นที่สองนั้นคือราคาสินค้าและค่าครองชีพที่สูงขึ้น จากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต นอกจากนั้นยังโดน Final Shock เป็นดาบสามด้วยภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกาะติดเพิ่มเติมมากับราคาสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย

ส่วนชาวรากหญ้าที่ได้รับการยกเว้นค่าไฟฟ้าเดือนละ 167.- บาทนั้น ก็จะถูกเรียกกลับคืนไปกับราคาสินค้าและบริการ รวมทั้งภาษีที่เพิ่มขึ้นการจากหาเสียงของรัฐบาลนี้ด้วยเช่นกัน และโปรดเข้าใจด้วยว่าทุกๆ 2,385 บาทที่ครอบครัวเหล่านี้ต้องจ่ายเป็นค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นใน 1 เดือน นั่นก็คือภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 167 บาทที่ท่านได้ถูกรัฐบาลเรียกเก็บกลับไปแล้วจากการใช้สอยของท่าน

เป็นอันว่าไอ้เจ้าค่าไฟฟ้าที่ได้รับการยกเว้นให้เดือนละ 167 บาทนั้น มันไม่ได้ฟรีอย่างที่รัฐบาล ... โดยเฉพาะท่านนายกฯกำลังพยายามโน้มน้าวให้เราเชื่อกันอย่างนั้น ผู้ที่แบกภาระในขั้นสุดท้ายนั้นก็คือพวกเรานั่นเอง เพราะไม่มีอะไรที่จะได้มาฟรีๆโดยไม่มีต้นทุน

เว้นแต่ภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น ที่รัฐบาลได้มาฟรีๆจากความขัดสนของประชาชน

ผมขอสรุปอย่างนี้ว่า ไม่ว่าจะเป็นของขวัญชิ้นไหนก็ตาม ล้วนแต่แฝงด้วยเล่ห์ทั้งสิ้น ไม่มีความจริงใจในการแก้ปัญหาปากท้องของประชาชนเจือปนอยู่เลยแม้แต่ธุลีเดียว แต่ผมอยากจะให้พวกเรากรุณาเปลี่ยนทรรศนะคติเสียใหม่ว่า ทุกวันนี้รัฐบาลไม่ได้ซื้อเสียงนะครับ แต่เป็นพวกเราต่างหากที่เป็นคนจ่ายเงินเพื่อซื้อเสียงให้รัฐบาล

ก่อนจะจบกระทู้นี้ ผมขอติงของขวัญชิ้นสุดท้ายซึ่งผมคิดว่าเป็นความน่าสมเพชอย่างถึงขีดสุดแล้วสำหรับภาวะความเป็นผู้นำของนายกฯ นั่นคือการตั้งเป้าจะลดอาชญากรรมลงให้ได้ 20% ซึ่งเป็นวิธีที่ปัญญาอ่อนได้ใจผมมาก เหตุเพราะที่ถูกแล้ว รัฐบาลโดย สตช. จะต้องมีเป้าหมายในการลดอาชญากรรมให้กลายเป็นศูนย์เปอร์เซ็นต์ไม่ใช่ให้เหลืออีก 80%

ผมจะเข้าใจได้มั๊ยว่าท่านนายกฯกำลังหมายความว่า ต่อจากนี้ไปผู้หญิงที่ถูกฉุดคร่าข่มขืนจะลดลงจาก 100 คนเหลือ 80 คน หรือยาบ้าจะลดลงจาก 100 ล้านเม็ดลงเหลือ 80 ล้านเม็ด หรือแม้กระทั่งอาชญากรรมของรัฐบาลเองที่ฆ่าประชาชนไปในปีที่แล้ว 97 คน(เกือบ100) ปีนี้จะฆ่าเพียง 80 คน

.. ผมไม่เคยเห็นรัฐบาลไหนที่หน้าด้านและเห็นแก่ตัวได้เท่านี้มาก่อนเลยจริง ๆ ..

จบจ้ะ

By:














วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

8... ตอนที่1/2 ของขวัญ 9 กล่องจากคนที่กะล่อนที่สุดในจักรวาล


ตอนที่1/2 ของขวัญ 9 กล่องจากคนที่กะล่อนที่สุดในจักรวาล


เห็นนโยบายของขวัญ 9 ข้อของเซลส์แมนขายฝันระดับนายกรัฐมนตรีไทยแล้วอดไม่ได้จริงๆ ที่จะต้องมาคุยกันในเรื่องนี้ ถึงผมจะไม่ชอบขี้หน้าของนายอภิสิทธิ์เลยก็ตาม แต่ผมจะพยายามที่สุดที่จะคุยกันอย่างเป็นธรรมที่สุด จะได้ไม่มีท่านใดออกมาตำหนิอีกว่าดีแต่ขัดคอ ซึ่งผมก็ยอมรับว่าจริง...เพราะผมทนเห็นความเหลวไหลของเด็กคนนี้ไม่ได้ และผมต้องขอบพระคุณ คุณ mario และคุณ Khongmear เป็นอย่างมากที่ได้เริ่มประเด็นเอาไว้ก่อนหน้านี้แล้ว

อย่าอารัมภบทยาวเลยนะครับ มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า ไล่กันไปที่ละข้อจนครบ 9 ข้อ

ข้อที่ 1. ให้ผู้ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคมได้รับสิทธิประโยชน์ เจ็บป่วยเสียชีวิต รวมถึงเบี้ยชราภาพ หรือประชาชนจ่ายเงิน 100-150บาท/เดือน จ่าย 70 บาทรัฐสมทบ 30 บาท หรือ จ่าย 100 บาทรัฐสมทบ 50 บาท กรณีหลังจะประกันกรณีชราภาพด้วย

ดูเผินๆเหมือนจะดีนะครับ เหตุเพราะแต่เดิมที่เรามีโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ 30 บาทรักษาทุกโรคนั้น เขาคุ้มครองเฉพาะการรักษาพยาบาลเท่านั้น แต่ไม่มีเรื่องของการเสียชีวิต, การทุพลภาพ และเบี้ยชราภาพ ถ้ามีประกันตนภาคสมัครใจอย่างนี้ด้วยราคาเท่านี้ แน่นอนว่ารากหญ้าย่อมมีเฮ

แต่ของขวัญนี้จะเป็นจริงได้หรือไม่เราต้องไปดูที่โครงสร้างครับ นายอภิสิทธิ์พูดเองว่า “เราตั้งเป้ามาตลอดว่าควรจะมีคนในระบบประมาณกว่า 20 ล้านคน แต่จะติดที่ตัวเลข 9-10 ล้านคน” ซึ่งก็แปลว่า นายอภิสิทธิ์คาดหวังว่าจะเพิ่มยอดจำนวนผู้ประกันตนจากนโยบายนี้อีกประมาณ 10 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นเงินของประชาชนที่จะถูกส่งเข้ามาในระบบประกันสังคมนี้ถึงเดือนละประมาณ 1,000 ล้านบาท หรือปีละ 12,000 ล้าน และรัฐจะต้องอุดหนุนตามที่โม้ไว้อีกเดือนละประมาณ 300 ล้านบาท หรือปีละ 3,600 ล้าน

ซึ่งก็คงต้องตั้งคำถามไว้ตรงนี้ว่า เงินส่วนนี้ทั้งหมดนั้นมันจะเหลือหรือมันจะขาดต่อการให้สิทธิประโยชน์คืนแก่ผู้ประกันตน วิธีการเป็นอย่างไร สิทธิประโยชน์มีอะไรบ้าง ถอนฟันอุดฟันได้มั๊ย จะได้สิทธิ 6 กรณีคือ กรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตายไม่เนื่องจากการทำงาน คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร และชราภาพ เหมือนผู้ประกันตนตาม ม.39 หรือไม่และอย่างไร

รวมทั้งเรื่องของงบประมาณฯ ว่ารัฐจะเอาเงินส่วนไหนมาอุดหนุนถึงปีละ 3,600 ล้าน ทั้งๆที่ประกาศว่าทั้ง 9 ข้อนั้นแยกวาระเร่งด่วนเป็น 3 เรื่อง คือ เศรษฐกิจนอกระบบ ค่าครองชีพ และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยจะใช้งบประมาณ 2,000 ล้าน ก็แค่ประกันสังคมอย่างเดียวก็ซัดไปปีละ 3,600 ล้านแล้ว ซึ่งสามพันกว่าล้านนี้จะต้องอุดหนุนตลอดไป

มันเป็นนโยบายแบบ "อรูป" ครับ บอกไม่ได้ว่ามีอะไรเป็นรูปธรรม และถ้าจะบอกว่าวิธีการกับรายละเอียดนั้นจะอธิบายในภายหลัง ผมยิ่งว่าเหลวไหลหนักเข้าไปอีก เพราะการจะทำโครงการอะไรก็ตามจำเป็นที่จะต้องศึกษาความเป็นไปได้หรือ Feasibility Study, ทำแบบจำลอง หรือ Simulation จนเห็นที่มาที่ไปในทุกมิติแล้ว ถึงจะประกาศออกมาเป็นนโยบายให้ภาคประชาชนเขาได้มีข้อมูลในการศึกษาข้อดีข้อเสียและผลกระทบ ทั้งในเรื่องของประสิทธิผล เรื่องของการบริหารจัดการ และเรื่องของงบประมาณ

ถ้าจะจับเอาเฉพาะเรื่องของการจัดการมาดูกันนั้น เราจะย้อนไปดูได้จากปัญหาบุคคลากรในยุคเริ่มต้นของโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งขณะนั้นแพทย์ พยาบาล ไม่เพียงพอ รัฐบาลคุณทักษิณแก้ไขด้วยการ ออกมติ ค.ร.ม.วันที่ 9 สิงหาคม 2548 อนุมัติโครงการ 1 อำเภอ 1 แพทย์ จำนวน 3,232 คน ในระยะเวลา 10 ปี เป็นเงิน 3,521 ล้านบาท รวมทั้งอนุมัติงบเพื่อผลิตพยาบาลเพิ่มขึ้นปีละ 1,500 คน เป็นเวลา 10 ปี เป็นเงิน 1,728 ล้านบาท

ผมก็คงต้องหมายเหตุเป็นข้อสงสัยว่า รัฐจะเอาบุคคลากรจากไหนมารองรับการดูแลผู้เจ็บป่วยจากโครงการประกันสังคมนี้ทั้งๆที่เราก็ทราบกันดีว่า ทุกวันนี้การที่เราไปใช้สิทธิตาม รพ.ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นของเอกชนหรือรัฐบาลก็ดี เราต้องอดทนรอกันค่อนวันเพื่อที่จะตรวจรักษา แล้วการเพิ่มจำนวนผู้ประกันตนเข้ามาในระบบอีกถึง 1 เท่าตัวหรือประมาณ 9-10 ล้านคนนั้น มิคสัญญีในโรงหมอคงระเบิดแน่

ซึ่งจากประสบการณ์ที่ผ่านมาจากโครงการ 30 บาทนั้น เราต้องใช้เวลาถึง 10 ปีในการผลิตบุคคลากรออกมารองรับกับจำนวนประชาชน หรือจะดึงเอามาจากโครงการ 30 บาท ?? ซึ่งผมว่ามันจะกลายเป็นความอลเวงให้ผู้ที่ต้องมีหน้าที่บริหารจัดการต้องปวดเศียรเวียนเกล้ากันจนต้องล้มป่วยเสียเอง

ทั้งหมดที่เราได้ยินได้ฟังกันมาสองวันถึงวันนี้นั้น ผมเรียนตรงๆว่าไม่ต่างอะไรกับการขายฝัน และเป็นการบอกไว้ล่วงหน้าว่า ถ้าฉันอยู่ไม่ถึงเดือน ก.ค.นี้หรือไม่มีฉันในสมัยหน้า ฝันที่ฉันกางออกมาให้พวกแกดูเป็นว่า... เลิก!!

ผมว่าเห็นแก่ตัวเกินไปครับ กับการจับเอาความฝันของประชาชนเป็นตัวประกัน

ข้อที่ 2. การเข้าถึงสินเชื่อเป็นกรณีพิเศษให้กับแท็กซี่และหาบเร่แผงลอย นายกฯเชื่อว่าจะเป็นลูกค้าดีของสถาบันการเงิน เพราะมีรายได้ชัดเจน

อันนี้ก็เหมือนข้อแรกแหละครับ คือฟังดูมีความหวัง แต่ภายใต้ความหวังหรือความฝัน ก็ยังมีเงื่อนไขที่ต้องดูกันอีกว่าจะทำได้อย่างไร ผมเพิ่งได้ฟังอีตากรณ์ รมว.กระทรวงคลังให้สัมภาษณ์เรื่องนี้กับเสี่ยสรยุทธ์ เขาบอกว่าจะให้แท็กซี่หรือมอร์’ไซด์วิน หรือค้าหาบเร่นี่แหละ รวมตัวกันให้ได้เป็นกลุ่มๆละ 10 -15 คน แล้วเอาเงินให้ไปก้อนนึงโดยใช้เงินจาก ธ.ออมสิน เอาไปจัดการกันเอาเอง โดยเขาสมมติว่าออมสินคิดดอกเบี้ยซัก 6% แล้วกลุ่มพี่น้องแท็กซี่+วิน+ค้าหาบเร่ไปจัดสรรให้กู้กันเองในกลุ่มโดยอาจจะทำกำไรกันเองด้วยการคิดดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 8-10

เฮ๊ย!! … คิดได้ไงครับ ทราบกันมั๊ยครับ รถแท็กซี่ 1 คันรวมตัวรถ, ทะเบียนแท็กซี่, ค่ามิเตอร์, วิทยุสื่อสาร และพ่นสี ตกคันละประมาณ 1 ล้านบาท เฉพาะแค่กลุ่มแท็กซี่กลุ่มเดียว ธนาคารออมสินจะต้องเอาเงินออกมาประมาณ 10–15 ล้านบาท และกรุณาอย่าหลงเข้าใจผิดว่าเป็นเงินของออมสิน แต่เป็นเงินที่ประชาชนเขาเอาไปฝากไว้ การที่จะปล่อยกู้ออกไปได้นั้นย่อมต้องมีหลักประกันเพื่อเป็นการรับประกันความเสี่ยงให้กับผู้ฝากเงิน แม้รัฐมนตรีมีอำนาจในการออกกฎหมายประกอบ พรบ.ธนาคารออมสินเพื่อทำเรื่องนี้ก็ตาม แต่ไม่ได้หมายความว่ารัฐมนตรีจะมีอำนาจในการเพิ่มความเสี่ยงให้กับประชาชนผู้ฝากเงินไว้กับธนาคารออมสิน

โครงการนี้ลอกนโยบายกองทุนหมู่บ้านมาอย่างเต็มรูปแบบ แต่มีจุดอ่อนอยู่อย่างมหาศาล ข้อแตกต่างก็คือ กองทุนหมู่บ้านนั้น กรรมการหมู่บ้านจะรู้จักหัวนอนปลายเท้าของผู้กู้เป็นอย่างดีเพราะบ้านแทบจะติดกัน บางคนแอบกิ๊กกันด้วยซ้ำ ฉะนั้นการผิดนัดหรือพริ้วไหวจะเกิดขึ้นได้ยากพอสมควร และนอกจากนั้นยังมีเรื่องของศักดิ์ศรีหน้าตามาเป็นการค้ำประกัน ซึ่งเราจะได้ข่าวอยู่ประปรายว่า มีการทำร้ายตัวเองถึงขั้นฆ่าตัวตายเนื่องจากอับอายที่ไม่สามารถชำระเงินให้กับกองทุนได้ตามกำหนด

แต่กลุ่มเป้าหมายของนโยบายนี้ต่างกัน เราคงทราบดีว่าพี่น้องแท็กซี่หรือมอร์’ไซวินนั้น ส่วนใหญ่มีถิ่นฐานอยู่ต่างจังหวัด และการเข้ามารวมกลุ่มกันนั้นจะเป็นการรู้จักกันในความสัมพันธ์ที่ไม่แข็งแกร่งเหมือนกลุ่มกองทุนหมู่บ้าน ปัญหาง่ายๆที่คิดได้ตอนนี้ก็คือ ถ้ามีใครสักคนเกิดไม่ไหวขึ้นมา แล้วหายตัวไปเฉยๆพร้อมกับรถ ใครจะเป็นคนติดตาม ใครจะเป็นคนเข้าแจ้งความร้องทุกข์และดำเนินคดี และใครที่จะต้องรับผิดชอบต่อเงินฝากของประชาชนที่สูญไปด้วยมาตรการที่หละหลวมและปัดภาระของรัฐบาลนี้

เราต้องตั้งคำถามขึ้นมาว่า ทำไมรัฐบาลไม่ให้ ธ.ออมสินปล่อยกู้โดยตรงกับผู้กู้เป็นรายๆไป แต่กลับมาปล่อยให้กลุ่มของผู้กู้มาจัดการกันเอง คำตอบก็คือรัฐบาลรู้ถึงความเสี่ยงที่ผมพูดถึง และถ้าจะยึดเอาตามเกณฑ์คุณสมบัติมาตรฐานของผู้กู้แล้ว เกือบจะไม่มีผู้กู้รายไหนผ่านได้เลย แต่ด้วยความที่จะต้องออกอะไรมาซักอย่างนึงเพื่อสร้างคะแนนให้กับตัวเองและแบ่งพี่น้องที่มีอาชีพขับรถรับจ้างเสื้อแดงของเราออกไป โดยที่ตัวเองไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเลย นโยบายบ้าๆเพ้อๆฝันๆอย่างนี้ถึงได้ถูกประกาศออกมา ประกาศทั้งๆที่รู้ว่ามันยากที่จะทำได้

เป็นความฉลาดแกมโกงอย่างนึงของรัฐบาลนี้ โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีที่เข้าใจหาเสียงกับกลุ่มพี่น้องแท็กซี่และพ่อค้าแม่ค้าของเรา เหตุเพราะหากมีใครซักคนออกมาแสดงความไม่เห็นด้วย หรือชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปไม่ได้ของนโยบายนี้ คนๆนั้นจะตกเป็นเป้าให้พี่น้องแท็กซี่และมอร์’ไซวิน รวมทั้งพ่อค้าแม่ขายทั้งหลายได้ชยันโตโพธิยากันเสียผู้เสียคนอย่างแน่นอน ซึ่งหากพี่น้องของเราจะกรุณาเฉลียวใจซักนิดว่ากำลังถูกใช้เป็นเครื่องมือหาคะแนนเสียงจากฝันและกำลังถูกแบ่งแยกออกไปจากกลุ่มเสื้อแดง ผมคิดว่า พี่น้องของเราคงจะนั่งหัวร่อไปและเคืองรัฐบาลนี้ไปพร้อมๆกัน

ถ้าถามผมว่า ... แล้วจะไม่ช่วยพี่น้องที่หาเช้ากินค่ำของเราให้มีชีวิตที่ดีขึ้นบ้างเหรอ หรือประมาณว่าดีแต่ติและขัดคอโดยไม่คิดจะนำเสนอ ผมก็จะขอถือโอกาสนำเสนอซะเลย

ถ้าเลือกผมเป็นนายกรัฐมนตรีนะ ผมก็จะไม่ใช้เงินจากออมสินหรอก แต่ผมจะออกพันธบัตรระยะสั้นอายุ 5 ปี ดอกเบี้ยลอยตัวเท่ากับ MOR+1 ตั้งเป็นกองทุนรากหญ้าขึ้นมา

สำหรับพี่น้องชาวแท็กซี่และมอร์’ไซวินนั้น เราจะใช้วิธีเดียวกันกับอู่รถแท็กซี่ทั่วไปเขาทำกัน คือให้คิดเสมือนว่าเช่ารถจากกองทุนนี้ไปขับโดยมีอู่หรือศูนย์อยู่ทั่วทุกเขตในกรุงเทพฯ เมื่อเช่าได้ครบ 5 ปี รถจะตกเป็นของผู้ขับไปเลย โอนกรรมสิทธิ์ให้ไปเลย โดยผมจะไม่มานั่งบวกดอกเบี้ยเพิ่มเหมือนที่รัฐบาลกำลังจะยุให้พี่น้องของเรารีดเลือดกันเอง

วิธีนี้จะจะสามารถกรองคนที่ตั้งใจประกอบอาชีพนี้อย่างจริงจังออกจากประเภทฉาบฉวยได้ ถ้ามีใครซักคนที่ไม่ไหวขับไปได้สองปีแล้วเปลี่ยนใจอยากจะไปทำอาชีพอื่น รถของเขาก็จะถูกนำออกมาปล่อยเช่าต่อไป ซึ่งหากผู้เช่าใหม่เช่าขับไปอีกสามปีจนครบกำหนดเดิมที่ผู้ขับคนแรกทำไว้ รถคันนั้นก็จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเขาไปในที่สุดด้วยราคาย่อมเยาตามอายุของรถ

ไม่ต้องมาผูกมัด ไม่ต้องมานั่งระแวง ไม่เสี่ยงกับหนี้สูญ และเป็นการเปิดโอกาสให้กับผู้ขับรายใหม่ๆ ได้มาลองทำอาชีพนี้ดู ซึ่งรถหนึ่งคันอาจจะสามารถช่วยให้พี่น้องนักขับของเราได้หาเลี้ยงชีพได้ 2-3 คน ในรอบ 5 ปี ไม่สูญเปล่าไปกับนโยบายขายฝัน ถ้าเป็นรถมอร์’ไซ ก็อาจจะร่นเวลาเข้ามาเป็น 2-3 ปี แล้วแต่ความเหมาะสม

ส่วนพ่อค้าแม่ขายนั้น ไม่น่าจะมีปัญหาเท่ากับพี่น้องนักขับ เหตุเพราะสถานที่ประกอบการค้าขายค่อนข้างเป็นหลักแหล่ง และวงเงินไม่สูงเท่ากับพี่น้องนักขับ กลุ่มของเรานี้จะดำเนินการยังไงก็ตามสะดวกเถอะ ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร

ข้อที่ 3. และ ข้อที่ 4. ขึ้นทะเบียนมอเตอร์ไซค์รับจ้าง จัดทำบัตร ให้เบอร์เสื้อวิน จยย. แจกหมวกนิรภัย ปรับปรุงวิน การทำบัตรจะนำไปสู่การพัฒนาสวัสดิการ ... เพิ่มจุดผ่อนปรนให้หาบเร่แผงลอย หวังลดรายจ่ายนอกระบบและจะจัดโซนการค้าให้เป็นระบบระเบียบ แต่จะไม่กระทบผู้ใช้ทางเท้า

แม่ม ... ลอกพี่สมัครมาทั้งดุ้นเลย สมัยที่พี่หมักทำขึ้นมาก็ดีอยู่พอสมควรทีเดียว แต่ผมจะขอย้ำตอกใส่กะโหลกของคนในรัฐบาลนี้ว่า มันเริ่มมาเละเทะเพราะขาดการเอาใจใส่มาในสมัยผู้ว่าฯอภิรักษ์นี่แหละ ยิ่งมาถึงรุ่นสุขุมพันธ์ยิ่งเละเป็นอ้วกหมาเลย ตอนนี้เขากลับไปซื้อเสื้อกั๊ก-เช่าเสื้อวินกันเหมือนเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว ทั้งหมดนี่คือความไม่เอาไหนของคนจากพรรคประชาธิปัตย์ตลอด 8 ปีที่ผ่านมากับตำแหน่งผู้ว่าฯกรุงเทพ มาถึงตอนนี้ยังกล้าที่จะเอาหน้า กะล่อนทำนองว่าเป็นของขวัญ ซึ่งที่จริงแล้วเป็นแค่การประจานข้อบกพร่องและความล้มเหลวของพรรคพวกตัวเอง รวมทั้งการขาดการเอาใจใส่ในหน้าที่ของคนที่อุตริเสนอตัวเข้ามาทำงาน แต่มัน ... ไม่ยอมทำงาน + ทำงานไม่เป็น

วันนี้ผมพูดมามากแล้ว ที่จริงแล้วอยากจะต่อให้จบทั้ง 9 ข้อ โดยเฉพาะในข้อ 5. เกี่ยวกับกองทุนน้ำมันและ ข้อ 6. เกี่ยวกับค่าไฟฟ้า แต่วันนี้ผมเหนื่อยแล้ว และมันยาวเกินไปแล้ว ผมขอยกเอาไปคุยต่อในตอนหน้าละกันครับถ้ายังไม่เบื่อจะอ่าน

ซึ่งเรื่องของก๊าซ LPG กับค่าไฟฟ้านี้ มันทุเรศและผิดพลาดมากกว่าทั้ง 4 ข้อแรกนี้รวมกันเสียอีก ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของการจับความฝันของประชาชนเป็นตัวประกันชัดๆ ซึ่งไหนๆก็ไหนๆแล้ว น่าจะประกาศนโยบายให้มันแฟนตาซีไปเลย

จะให้เด็กไทยทุกคนตั้งแต่ชั้นประถมไปจนถึงปริญญาตรีได้ขึ้นยานกระสวยอวกาศออกไปเที่ยวดวงจันทร์กันฟรีๆ 15 ปี!! จะตอแหลทั้งทีต้องหน้าด้านให้มันสุดๆเลย รักจะกะล่อนก็ต้องกะล่อนที่สุดในจักรวาล


ยังไม่จบ มีต่ออีกจ้ะ

By:







วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

7... ข้อเสนอเครือข่ายแรงงานนอกระบบ


คุณสุจิน รุ่งสว่าง เล่าถึง...ประสบการณ์การทำงาน




คลิกดาวน์โหลดต้นฉบับ sujin1
คลิกดาวน์โหลดต้นฉบับ sujin2
Download the original: ฟิตหัวใจ
ขอขอบพระคุณ happy8workplace.com