ช่วยกันเพิ่มช่องทาง ข้อมูล ข่าวสาร-สาระความรู้ ให้กับพี่น้องชาวแรงงานนอกระบบ
"รู้ลึก รู้ทัน รู้จริง รู้ก่อน...ไม่โดนเขาหลอกให้ช้ำใจ"
"รอโหลดซักกะเดี๋ยว..ตะเอง"


. . . สวัสดีครับ . . .
ยินดีต้อนรับทุกๆท่าน . . . Welcome to . . .
. . . แ ร ง ง า น น อ ก ร ะ บ บ . . . ร่วมด้วยช่วยกัน . . . ขอขอบพระคุณเจ้าของclipภาพถ่ายและบทความทุกๆท่านที่กรุณาเอื้อเฟื้อแบ่งปัน . . .น้ำใจซื้อขายไม่ได้ แต่น้ำใจให้กันได้...อิอิ

@ ปู้นนน...!!! คนเมืองใต้เจียงใหม่ของหมู่เฮาลงไปตางปู๊นนน..... @ 2กุมภา..กาเบอร์ 15 ทั้ง ส.ส.เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย


PlayListนี้ เริ่มต้นด้วย "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน" เรียงลำดับตั้งแต่ ตอนแรก ถึง ตอนปัจจุบัน ..ท้ายเพลย์ลิสท์เป็นคลิป "เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญ : จะทำอย่างไร?" วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล (สยามซิตี้เดิม) คลิปนี้..วิทยากร รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นเริ่มนาที 0:14:24
คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...
หรือคลิกที่นี่.. @ AsiaUpdate "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน"

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556

74... จะทำอย่างไร? ถูกเลิกจ้าง..ลาออก..ว่างงาน..ชราภาพ55ปี,เกิน60ปี

@ ทำความเข้าใจก่อนวิจารณ์ "การลงทุน 2 ล้านล้าน" กับ รัฐมนตรีชัชชาติ สิทธิ์พันธุ์
@ เขียนให้อ่าน..จากใจ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร
@ ทิ้งหนี้ไว้ให้ลูกหลาน โดย ดร.วีรพงษ์ รามางกูร
@ อะไรคือ มรดกอสูร!!! ใครคือ ทายาทอสูร!!! ดร.โกร่งมีคำตอบ
@ เป็นเพราะว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเหล่านี้ไม่มีสำนึกในการรักษาความยุติธรรม..และยังทำลายความยุติธรรมด้วยมือของตนเองอีกด้วย...
@ คำแปล ปาฐกถาพิเศษ ปชต."นายกฯยิ่งลักษณ์"ที่มองโกเลีย
@ จดหมายเปิดผนึก.. ส.ส.และ ส.ว.312 คน คัดค้านและไม่ยอมรับการใช้อำนาจที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญของศาลรัฐธรรมนูญ

คลิกที่ภาพ...เพื่อดูขนาดที่ใหญ่ขึ้น @ New!! แจกปฏิทินนายกฯปู พ.ศ.2556 คลิกที่นี่...

คลิกที่ภาพ...เพื่อดูขนาดที่ใหญ่ขึ้น

สนใจมั้ย..กฎหมายเงินเดือนผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปเดือนละ 2,000 บาท คลิปเริ่มนาที 38:15

จะทำอย่างไร? ถูกเลิกจ้าง..ลาออก..ว่างงาน..ชราภาพ55ปี,เกิน60ปี
By: คนการเมือง

"มนุษย์เงินเดือน" & "ประกันสังคม"

สิทธิประโยชน์จากประกันสังคม เมื่อออกจากงาน..

พนักงานบริษัทหรือที่เรียกกันอย่างคุ้นปากว่า "มนุษย์เงินเดือน" นั้น แน่นอนว่าเป็นกลุ่มคนที่คุ้นเคยกับคำว่า "ประกันสังคม" เป็นอย่างดีอยู่แล้ว เพราะเป็นหนึ่งในรายจ่ายสมทบที่เราต้องถูกหักจากเงินเดือน 5% หรือไม่เกิน 750 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นการประกันตนโดยบังคับโดยเราจะได้รับสิทธิประโยชน์มากมาย ทั้งในด้านการลดหย่อนภาษี การรักษาพยาบาล รวมถึงค่าชดเชยต่างๆ แต่ความจริงก็คือว่า คนเราส่วนใหญ่มักจะละเลยสิทธิประโยชน์เหล่านี้ ซึ่งเป็นการละเลยที่เกิดจาก "ความไม่รู้" ว่าเราจะได้ประโยชน์อะไรจากสิ่งเหล่านี้บ้าง

สิทธิประโยชน์จากประกันสังคมที่ควรรู้เมื่อออกจากงาน มี 2 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ เมื่อถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงาน

มีเงื่อนไขในการรับสิทธิ์คือ เราจะต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนออกจากงาน โดยต้องไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วันหลังลาออกจากงาน และต้องไม่ใช่ผู้มีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพจากกองทุนประกันสังคม

โดยสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานมีดังนี้

กรณีถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินทดแทนปีละไม่เกิน 180 วันในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง โดยจะคิดจากค่าจ้างตามจริงสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง ได้รับเงินทดแทนปีละไม่เกิน 90 วันในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้าง โดยจะคิดจากค่าจ้างตามจริงสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

โดยปกติแล้ว เมื่อเราสมัครเข้าประกันสังคม เราจะกลายเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 แต่เมื่อว่างงานลงและใช้สิทธิ์เงินทดแทน เราจะกลายเป็นผู้ประกันตนตามมาตร 38 (ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องจ่ายเงินสมทบ) ในช่วงเวลาสูงสุด 6 เดือน (180 วัน) พร้อมได้รับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครอง 4 กรณี ได้แก่ ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย เสียชีวิต ทุพพลภาพ และคลอดบุตร

ส่วนที่ 2 สิทธิประโยชน์ที่ได้รับเมื่อสมัครประกันสังคมต่อหลังจากออกจากงาน

หากเราลาออกจากงานแล้ว แต่ยังต้องการได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ จากประกันสังคมต่อไป เราก็สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39 ภายใน 6 เดือนหลังสิ้นสุดสภาพการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และได้ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ทั้งนี้ต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม โดยที่เราจะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี ได้แก่ ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย เสียชีวิต ทุพพลภาพ คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร และชราภาพ

สำหรับการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมแบบสมัครใจนี้ เราต้องจ่ายสมทบเข้าในอัตราร้อยละ 9 ของค่าจ้าง โดยกำหนดฐานค่าจ้างคงที่อยู่ที่ 4,800 บาทต่อเดือนเท่ากันทุกคน เท่ากับว่าเราต้องส่งเงินสมทบ 4,800×9%=432 บาท และรัฐจะจ่ายเงินสมทบให้อีก 2.5% โดยเงินที่จ่ายสมทบไปนี้ จะแบ่งจ่ายสมทบกรณีเจ็บป่วย/เสียชีวิต/ทุพพลภาพ/คลอดบุตร 3% และกรณีสงเคราะห์บุตร/ชราภาพ 6% ซึ่งเราจะได้รับสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพเมื่อเราอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ในช่วงปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้มีนโยบายลดอัตราการเก็บเงินสมทบประกันสังคมลงเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระประชาชนจากผลกระทบน้ำท่วมเมื่อปลายปี 2554 ที่ผ่านมา โดยเก็บเงินสมทบในอัตราร้อยละ 3 ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2555 และจะขึ้นเป็นร้อยละ 4 ในช่วงครึ่งปีหลัง ส่วนปี 2556 เก็บเงินสมทบร้อยละ 4 ดังนั้น กรณีของการสมัครประกันสังคมเองโดยสมัครใจ ก็จะไม่ได้จ่ายสมทบ 432 บาท แต่จะจ่าย 240 บาทในช่วงครึ่งปีแรก และ 336 บาทในช่วงครึ่งปีหลัง ส่วนปี 2556 เก็บเงินสมทบ 336 บาท

ทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น เป็นรายละเอียดสิทธิประโยชน์ที่เราควรรู้เมื่อออกจากงาน ในเมื่อได้จ่ายเงินสมทบโดยบังคับแล้ว ก็ควรจะศึกษาสิทธิประโยชน์ต่างๆ และใช้อย่างเหมาะสมให้คุ้มค่า...

@ สรุปสาระสำคัญ พรบ.ประกันสังคม พ.ศ.2533
@ โหลดแบบฟอร์ม"ประกันสังคม"ต่างๆ
@ พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533

ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยให้สอบถามข้อมูลได้ที่ สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่เราสะดวก หรือโทร.1506 (เจ้าหน้าที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง) หรือที่เว็บนี้.. sso.go.th


คำถาม : ผู้ประกันตนอายุครบ 55 ปี ขอรับบำเหน็จชราภาพไปแล้ว ต่อมาอีก 1 เดือนบริษัทฯเดิมเรียกกลับเข้าทำงานใหม่ จะต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกต้องตามกฎหมายประกันสังคม

1. เมื่อแจ้งสิ้นสุดการเป็นลูกจ้างตาม ม.33 ไปแล้ว จะต้องแจ้งชื่อเข้าระบบประกันสังคมใหม่อีกหรือไม่

2. จะต้องหักเงินสบทบส่งประกันสังคมอีกหรือไม่

3. ถ้าไม่ต้องแจ้ง ลูกจ้างจะใช้สิทธิรักษาพยาบาลได้อย่างไร

คำตอบ : By jirawank : ผู้ประกันตนออกจากงาน ประกันสังคมคุ้มครองต่ออีก 6 เดือน ใน 4 กรณี ได้แก่ กรณีประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตายไม่เนื่องจากการทำงาน และกรณีคลอดบุตร

กรณีอายุไม่เกิน 60 ปี (นายจ้างจะต้องยื่นเอกสารการขึ้นทะเบียนลูกจ้างอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์) สามารถกลับเป็นผู้ประกันตน ม.33 ได้ มีการนำส่งเงินสมทบก็มียอดออมใหม่ เมื่อลาออกจากงานก็สามารถรับสิทธิชราภาพในส่วนที่ทำงานได้ (ถ้ากลับเข้าทำงานใหม่ภายใน 6 เดือนนับจากออกจากงาน สิทธิการรักษาสามารถใช้ รพ.ตามบัตรฯเดิม)

กรณีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ ไม่ต้องแจ้งเข้าประกันสังคม (แต่นายจ้างจะต้องยื่นเอกสารการขึ้นทะเบียนลูกจ้างที่อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์) เพราะถึงแจ้ง สปส.ก็ไม่รับแจ้ง พ.ร.บ.ประกันสังคม ไม่คุ้มครอง เมื่อไม่เป็นผู้ประกันตนตาม ม.33 ก็ไม่ต้องหักเงินสมทบนำส่ง

ตัวอย่างเพิ่มเติม.. "ในกรณีญาติลาออกจากงาน(เกษียณ)เมื่ออายุ 60 ปี และได้มาติดต่อขอรับเงินออมกรณีชราภาพเป็นบำเหน็จชราภาพ ต่อมานายจ้างเก่าเห็นว่ามีความสามารถจึงให้กลับมาทำงานแต่เป็นสัญญาปีต่อปี ไม่มีประกันสังคมเพราะไม่สามารถขึ้นทะเบียนได้ตามเงื่อนไขอายุ ดังนั้นญาติจึงไปสมัครประกันตนเองตาม ม.39 ภายใน 6 เดือนนับจากวันที่ลาออก และตอนนี้ก็ใช้สิทธิ ม.39 มีบัตรรับรองสิทธิรักษาพยาบาลตามปกติ"

ขอเสริมอีกนิด..

ในกรณีที่ ผปต.อายุ 55 ปีบริบูรณ์ และมีการลาออกจากงาน แล้วมารับเงินบำเหน็จชราภาพจาก สปส.ไปแล้ว ต่อมาหลังจากรับเงินไปแล้วสมมุติว่าประมาณ 5 เดือน นายจ้างเก่าก็รับคุณกลับเข้าทำงาน ซึ่ง ณ ตอนนั้นอายุคุณก็ยังไม่ถึง 60 ปี ถ้านายจ้างรับเข้าทำงาน นายจ้างก็จะต้องแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างในแบบ สปส.1-03/1 ส่วนสิทธิการรักษาถ้าลาออกยังไม่เกิน 6 เดือนสิทธิการรักษาก็ยังสามารถใช้ได้เมื่อแจ้งเข้างาน สิทธิการรักษาก็ยังสามารถใช้ รพ.ตามบัตรฯเดิม

ส่วนกรณีที่ ผปต.อายุ 60 ปีบริบูรณ์ นายจ้างจะต้องยื่นเอกสารการขึ้นทะเบียนลูกจ้างที่อายุต่ำกว่า 15 ปีและอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ (แบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน สปส.6-07)

คลิกขวาที่ภาพ เลือก Save picture as...เพื่อ"ดู"&"copy"รูปขนาดใหญ่

กรณีชราภาพของ สปส.เริ่มเก็บเงินสมทบเมื่อ 31 ธ.ค.2541 การขอรับสิทธิคือ ผปต.จะต้องอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และต้องสิ้นสภาพความเป็น ผปต. เมื่อยื่นขอรับสิทธิที่ สปส.จะตรวจสอบจากงวดที่ ผปต.นำส่ง ถ้าไม่ถึง 180 เดือน ผปต.จะได้รับเงินออมเป็นบำเหน็จ พร้อมดอกเบี้ย แต่ถ้าตรวจสอบแล้วส่งเงินครบ 180 เดือนจะพิจารณาเป็นบำนาญชราภาพรายเดือน

[กรณีชราภาพ.. การขอรับสิทธิ คือ ผปต.จะต้องอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ (เช่น เกิด 25มี.ค.2501 อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ คือ 25มี.ค.2556) และต้องสิ้นสภาพความเป็น ผปต.(ลาออกจากงาน)

ให้ติดต่อ สปส.เขตพื้นที่ใกล้บ้าน ตรวจสอบว่า ณ วันที่อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ ได้ส่งเงินสมทบครบหรือไม่ครบ 180 เดือนหรือไม่

ถ้าส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน รับบำนาญชราภาพ

ถ้าส่งเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน รับบำเหน็จชราภาพ]


กรณีบำนาญชราภาพได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง และกรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน ให้ปรับเพิ่มอัตราบำนาญชราภาพจากอัตราร้อยละ 20 ขึ้นอีกร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือน

สูตรคำนวณเงินบำนาญชราภาพ...

ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย x 20%(+จำนวน%ที่เพิ่มให้อีกปีละ 1.5%)

ตามตัวอย่าง.. ผปต.ท่านนี้จ่ายเงินสมทบฯไม่ถึง 180 เดือน ได้รับบำเหน็จชราภาพและผลประโยชน์ทดแทน นับถึง พ.ศ.2555 คือ เงินสมทบที่นำส่ง 113,002.02 บาท + ผลประโยชน์ทดแทน 27,240.68 บาท = 140,242.70 บาท

และ ประมาณกลางปี 2557 เมื่อประกาศดอกเบี้ยชราภาพออกมาแล้ว สปส.จะต้องจ่ายคืน ผปต.อีก ดังนี้.. ผลประโยชน์ทดแทน พ.ศ.2556 (109,402.02 บาท + 3,600.00 บาท) x ........... = ............................ บาท

การรับเงินบำนาญชราภาพ... สมมุติว่า ผปต.ท่านนี้จ่ายเงินสมทบฯครบ 180 เดือน จะต้องคำนวณหาค่าเฉลี่ยค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง คือ 889,500.00 บาท หารด้วย 60 = 14,825.00 บาท

ผปต.ท่านนี้จะได้รับบำนาญเดือนละ 14,825.00 x 20% = 2,965.00 บาท ตั้งแต่เดือนมกราคม 2557 เป็นต้นไป

และ สมมุติ ผปต.ท่านนี้จ่ายเงินสมทบฯเกิน 180 เดือนไปอีก 12 เดือน

ผปต.ท่านนี้จะได้รับบำนาญเดือนละ 14,825.00 x 21.5% = 3,187.38 บาท

.